ความรู้ และพฤติกรรมการจัดการขยะประเภทถุงน้ำยาล้างไต ของผู้ป่วยโรคไต กรณีศึกษาเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Dialysis bag, Knowledge, Behavior, Waste management

ผู้แต่ง

  • พรนภา กุมภิโร -
  • กุลวรรณ โสรัจจ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
  • ธีรวรรณ บุญโทแสง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000

คำสำคัญ:

Dialysis bag, Knowledge, Behavior, Waste management

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และพฤติกรรมการจัดการขยะประเภทถุงน้ำยาล้างไตของผู้ป่วยโรคไตที่รักษาโดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) ในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยการสัมภาษณ์ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 75 คน (กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลคือผู้ป่วย และผู้ดูแลให้ข้อมูลแทน) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.0 และเพศชาย ร้อยละ 44.0 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีอายุ 61 ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 45.3 ส่วนใหญ่มีช่วงระยะเวลาในการรักษาแบบ CAPD 1 - 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 78.7 และผู้ป่วยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาด้วยตนเอง ร้อยละ 68.0 ระดับการศึกษาของผู้ป่วยอยู่ในระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 86.7 และพบว่าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ร้อยละ 49.3 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท สูงถึงร้อยละ 93.3 ผลการศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะประเภทถุงน้ำยาล้างไตของผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.7 เมื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของผู้ป่วยโรคไต และผู้ดูแล พบว่า มีระดับความรู้ ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ด้านพฤติกรรมในการจัดการขยะประเภทถุงน้ำยาล้างไตของผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) อยู่ในระดับพฤติกรรมการจัดการแย่ ร้อยละ 34.2 และแย่มาก ร้อยละ 24.7 ส่วนระดับดี และพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 20.5 เท่ากัน สำหรับรูปแบบพฤติกรรมการจัดการขยะประเภทถุงน้ำยาล้างไตในระดับดี พบสูงสุดคือ ล้างน้ำเปล่าร่วมกับตากแดด ร้อยละ 20.5 และพฤติกรรมในระดับพอใช้ที่พบคือ ล้างน้ำเปล่าแล้วตากแดดร่วมกับผึ่งลม ร้อยละ 17.8 ผลการศึกษาสรุปได้ว่าระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่างมีความไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริงในการจัดการขยะถุงน้ำยาล้างไตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD)

References

กรมอนามัย. (2561). แนะการกำจัดถุงล้างไตใช้แล้วลดปัญหาขยะติดเชื้อ. ค้นจาก https://bit.ly/32RwDpd.

งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสัตหีบ. (2560). การจัดการขยะ (หน้า 1-12). ชลบุรี: โรงพยาบาลสัตหีบ.

จตุรงค์ กิจตระกูลรัตน์, ภาวินี อรรณพพรชัย, อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล และกฤษณ์ พงค์พิรุฬห์. (2562). ความพึงพอใจการล้างไตทางช่องท้องและทัศนคติต่อการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ PD First Policy. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(3), 303.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. (บรรณาธิการ). (2557). ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2, 40 หน้า). กรุงเทพฯ:เฮลธ์ เวิร์คจำกัด.

ภิเษก บัวเพชร, นพรัตน์ หนูราม, วรวิทย์ ทองกลิ่น, ณัฐชนน การิกาญจน์, นำธน กัมพลานนท์ และนิพนธ์ ผลความดี. (2559). ที่นอนลมจากถุงไตเทียม. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช.

เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี. (2560). ระบบการจัดการถุงน้ำยาล้างไต. ค้นจาก http://r2rthailand.org/download/r2r10/R2R_นพ.เรืองศิลป์.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 อุบลราชธานี. (2561). จำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายสะสม. อุบลราชธานี: สำนักงานฯ.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. ค้นจาก http://doh.hpc.go.th/data/HL/CKD_2015.pdf

Feriani, M., Catizone, L. and Fracasso, A., (2000). Peritoneal dialysis solutions and systems. Textbook of Peritoneal dialysis, (2nd ed.), 253-305.

Panjawara Boonsrangsom. (20 กุมภาพันธ์ 2563). เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน. เดลินิวส์,

ค้นจาก https://bit.ly/2x95O55

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-16