การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าบนพื้นฐานของกูเกิ้ลแอสซิสแทนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าบนพื้นฐานของกูเกิ้ลแอสซิสแทนต์โดยประยุกต์ใช้งานราสเบอร์รี่พาย ESP8266 ไฟร์เบส และกูเกิ้ลแอสซิสแทนต์ให้ทำงานร่วมกับเว็บแอพพลิเคชันซึ่งสามารถสั่งงานด้วยเสียงพูดเป็นหลักซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานกับผู้พิการทางมือซึ่งช่วยลดภาระงานให้กับผู้ดูแลคนพิการ ในการออกแบบและพัฒนาฮาร์ดแวร์ใช้การส่งสัญญาณเสียงพูดผ่านไมโครโฟนที่เชื่อมต่อกับบอร์ดราสเบอร์รี่พายเข้าสู่ระบบเครือข่ายไปยังไฟร์เบส หรือการส่งสัญญาณเสียงพูดโดยผ่านกูเกิ้ลแอสซิสแทนต์บนโทรศัพท์มือถือไปยังไฟร์เบสที่อยู่บนระบบเคลาว์ดเซิร์ฟเวอร์ โดยสัญญาณเสียงทั้ง 2 รูปแบบจะผ่านกูเกิ้ลแอสซิสแทนต์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นคำสั่งเพื่อให้ไฟร์เบสประมวลผลและวิเคราะห์คำสั่งต่างๆ จากนั้นจะส่งคำสั่งควบคุมการทำงานไปยังโมดูล ESP8266 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ เช่น การเปิดหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ การปรับระดับความสว่างของหลอดไฟภายในห้องต่างๆ และการปรับระดับแรงดันของปั้มน้ำที่รดน้ำให้กับต้นไม้ เป็นต้น โดยจะแสดงสถานะการทำงานต่างๆ หรือสามารถควบคุมการทำงานผ่านเว็บแอพพลิเคชันได้อีกช่องหนึ่งทาง จากผลการทดลองใช้งานพบว่าสามารถสั่งงานโดยการเปิดหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านเว็บแอพพลิชันและสั่งงานด้วยเสียงพูดโดยมีความถูกต้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 100% และ 99.25% ตามลำดับ ผลการทดลองปรับระดับความสว่างของหลอดไฟผ่านเว็บแอพพลิชันและการสั่งงานด้วยเสียงพูดมีความถูกต้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 100% และ 92.3% ตามลำดับ ผลการทดลองปรับระดับแรงดันของปั๊มน้ำซึ่งจ่ายน้ำให้กับต้นไม้ผ่านเว็บแอพพลิชันและการสั่งงานด้วยเสียงพูดมีความถูกต้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 100% และ 90.9% ตามลำดับ ผลการทดลองวัดกำลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานจำนวน 30 วัน (720 ชั่วโมง) มีค่าเท่ากับ 6.65 ยูนิต คิดเป็นจำนวนเงินค่าใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้นเท่ากับ 15.63 บาท โดยยังไม่รวมค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ระบบที่ออกแบบและนำเสนอสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับผู้พิการทางมือและบุคคลทั่วไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
Sisavath C, Yu L. (2020). Design and Implementation of Security System for Smart Home based on IoT Technology. 10th International Conference of Information and Communication Technology (ICICT-2020). Procedia Computer Science 183 (2021).
ABBASSI Y, BENLAHMER H. (2021). The Internet of Things at the Service of Tomorrow’s Agriculture. International Workshop on Edge IA-IoT for Smart Agriculture (SA2IOT). Procedia Computer Science 191 (2021) 475-480.
Macheso P, Meela A. (2021). IoT Based Patient Health Monitoring using ESP8266 and Arduino. International Journal of Computer Communication and Informatics.2021;3(2):75-83.
Dharmoji S, Anigolkar A, Melinamani S. (2020). IoT based Patient Health Monitoring using ESP8266. International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET). 2020;7(3):3619-24.
Liberata Ullo S, Sinha G.R. (2020). Advance in Smart Environment Monitoring Systems using IoT and Sensors. Sensor 2020, 2-18.
Andriani T, Azzam MR, Topan PA, Hidayatullah M, Esabella S. (2019). Design of Flood Early Detection System using WeMos D1 Mini ESP8266 IoT Technology. Journal of Physical Science and Engineering (JPSE). 2019;4(2):67-73.
Suwetha IG. (2019). NodeMcu based smart garbage monitoring system. International Journal of Advance Research, Ideas and Innovations in Technology. 2019;5(5):429-32.
Mustafa M, Mishra A, Yadav S, Mandal NK. (2022). SMART HOME AUTOMATION SYSTEM USING NODE MCU WITH BLYNK APP. International Research Journal of Modernization in Engineering Technology and Science. 2022;4(3)2219-21.
Mishra S, Mishra JJ. (2019). Home Automation Using Node MCU-32S and Blynk App. International Journal for Research Trends and Innovation. 2019;4(7)20-3.
Thiensan C, Yoddamnern T. (2020). Remote control unit for electrical appliances to operate by voice. 2020 National Conference on Innovation for Learning and Invention, Pathum Thani, Thailand, 2020:1766–79.
Kulsorn A, Samroingam W, Intharasombut O, Muangpool T. (2017). Artificial Intelligence Controlling Box. 2017 National Conference on Technology and Innovation Management (NCTIM), Maha Sarakham, Thailand, 2017:1-6.
Yamkham A, Nakpomchin S, Apornpisarn K. (2018). Automatic Light Control System by using Thai Voice Command. 2018 National Conference on Technology and Innovation Management (NCTIM), Maha Sarakham, Thailand, 2018:1145-51.
Hoksee Y, Ngoh-cheyah N, Jitkarnnuengsook S. (2020). Lighting and Electrical equipment Control System with Thai voice commands. The 5th Nation Science and Technology Conference (NSCIC2020), Nakhon Si Thammarat, Thailand, 2020:511-23.
Phunphanasakul A, Yahpa F, Jehdueramae A. (2020). Development of Light On-Off system with Micro Sensor with Application via Smart Phone. The 11th Hatyai National and International Conference, Songkhla, Thailand, 2020:994-1012.
Google Assistant. (2023). Available from: https://github.com/encrust82/google-assistant
Firebase. (2023). Available from: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Firebase_Logo
Raspberry_Pi. (2023). Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Raspberry_Pi