การศึกษาเชิงทดสอบอบแห้งพริกด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้หินภูเขาไฟเป็นตัวกักเก็บความร้อน

Main Article Content

ยุธนา ศรีอุดม
อนุรัตน์ เทวตา
สังคม สัพโส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงทดสอบประสิทธิภาพเครื่องอบแห้งพริกด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้หินภูเขาไฟเป็นตัวสะสมความร้อนกับเครื่องอบแห้งพริกด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีตัวสะสมความร้อน ซึ่งจะแบ่งชุดทดสอบออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1. เครื่องอบแห้งพริกด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีตัวสะสมความร้อน (SD1) 2. เครื่องอบแห้งพริกพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้หินบะซอลต์เป็นตัวสะสมความร้อน (SD2) และ 3. เครื่องอบแห้งพริกพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้หินพัมมิสเป็นตัวสะสมความร้อน (SD3) โดยทำการทดสอบอบแห้งพริกที่ความชื้นเริ่มต้นประมาณ 75%w.b. จนกระทั้งมีความชื้นสุดท้ายเป็น 13%w.b. ที่อัตราการระบายอากาศ 3 ระดับ ได้แก่ 0.0142 m3/s 0.0208 m3/s และ 0.0279 m3/s ผลจาการทดสอบอบแห้ง พบว่า เมื่ออัตราการระบายอากาศเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งสูงขึ้นทั้ง 3 ชุดทดสอบ โดยจะมีประสิทธิภาพสูงสุดที่อัตราการไหล 0.0279 m3/s ซึ่งเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีตัวสะสมความร้อน เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้หินบะซอลต์เป็นตัวสะสมความร้อน และเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้หินพัมมิสเป็นตัวสะสมความจะมีประสิทธิภาพเฉลี่ย เท่ากับ 25.34%, 28.00%
และ 30.73% ตามลำดับ โดยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้หินพัมมิสเป็นตัวสะสมความร้อนจะใช้เวลาในการอบแห้งต่ำสุด คือ 23.20 ชั่วโมง และมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ 30.73%

Article Details

How to Cite
ศรีอุดม ย., เทวตา อ. ., & สัพโส ส. . (2024). การศึกษาเชิงทดสอบอบแห้งพริกด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้หินภูเขาไฟเป็นตัวกักเก็บความร้อน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 6(1), 21–33. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RJST/article/view/250914
บท
บทความวิจัย

References

เสริม จันทร์ฉาย. (2553). แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์จากข้อมูลดาวเทียมสำหรับประเทศไทย. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ร่วมกับภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุห์ดี นิเซ็ง, ภาณุมาศ สุยบางดำ, กฤษณพงค์ สังขวาสี, สุพัตรา เพ็งเกลี้ยง. (2562). การศึกษาผลของขนาดช่องระบายความชื้นสำหรับการอบแห้งพริกด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานผสมผสาน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2562 : pp 158-168.

สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี. (2560). การศึกษาสมรรถนะเครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวมวล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560 : pp 1-10.

ธีรพงศ์ บริรักษ์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของตู้อบแห้งโดยการปรับมุมเอียงคล้อยตามแสงอาทิตย์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562 : pp 23-32.

พงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ. (2565). เครื่องอบแห้งพลังานแสงอาทิตย์ระบบไฮบริดแบบมีระบบแจ้งเตือน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2565 : pp 175-189.

ณัฏฐ์ธนัน กีรติญาดาธนภทัร, ประทีป ตุ้มทอง. (2559). การอบแห้งไข่น้ำด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบด. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559 : pp 12-21.

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2540). การอบแห้งเมล็ดธัญพืช, พิมพ์ครั้งที่ 5, คณะพลังงานและวัสดุ, สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี, 338 หน้า.

กรมทรัพยากรธรณี. (2545). รายละเอียดของหินไรโอไลต์, หินพัมมิช และหินบะซอลต์. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.dmr.go.th/ รายละเอียดของหินไรโอไลต์-หินพัมมิช-และหินบะซอลต์/.

กิตติเทพ เพื่องขจร. (2550). การกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบความร้อนในหินถม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ยุธนา ศรีอุดม อนุรัตน์เทวตา สังคม สัพโส และ นิวัตน์ ประทุมไชย. (2564). การศึกษาเชิงทดสอบการใช้น้ำสำหรับระบายความร้อนออกจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 15 (2) กรกฎาคม - ธันวาคม 2564 : pp 1-13.

E. C. Okoraigwe, M. N. Eke and H. U. Ugwu. (2013). Design and evaluation of combined solar and biomass dryer for small and medium enterprises for developing countries. International journal of physical science, vol. 8 (25) 2013: pp. 1341-1349.

A. Zomirodian and M. Zamanian. (2012). Designing and evaluating an innovative solar air collector with transpired absorber and cover. ISRN renewable energy, Volume 2012: pp. 1-5.

A. A. Hassanain. (2009). Simple solar drying system for banana fruit. World journal of agricultural sciences, vol. 5 (4) 2009: pp. 446-455.