การพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงแบบรูพรุนของโฟมยางพาราที่เติมผงถ่านจากซังข้าวโพด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสังเคราะห์วัสดุดูดซับเสียงแบบรูพรุนโฟมยางพาราที่ถูกเสริมแรงด้วยผงถ่านจากซังข้าวโพด ที่อัตราการเติมผงถ่านซังข้าวโพด 0, 5, 10 และ 15 phr นำโฟมยางพาราที่ได้มาทดสอบสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่น ความแข็ง (แบบ Shore scale A) การทนต่อแรงดึง (ASTM D638) และสมบัติการดูดซับเสียง (ASTM C 384–04) ศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคด้วยกล้องสเตอริโอไมโครสโคปและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าความหนาแน่นมีค่าอยู่ในช่วง 0.13-0.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่าความแข็งอยู่ระหว่าง 1.1-11.1 Shore A ค่าความหนาแน่นและค่าความแข็งมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณถ่านซังข้าวโพดที่เติม ผลการทดสอบค่าการทนต่อแรงดึงและค่าความยืดหยุ่นของโฟมยางพาราที่เติมผงถ่านจากซังข้าวโพด พบว่าโฟมยางพาราที่มีการเติมผงถ่านจากซังข้าวโพดแสดงตัวคล้ายคอมพอสิทที่มีความเปราะ และมีค่าการทนต่อแรงดึงเพิ่มชึ้นแต่ค่าความยืดหยุ่นชิ้นงานลดลงเมื่อปริมาณถ่านเพิ่มขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงที่ช่วงความถี่ 1000-2500 เฮิรตซ์ ที่อัตราการเติมผงถ่านจากซังข้าวโพดอัตราการเติม 0 และ 5 phr อยู่ในช่วง 0.52-0.83 และ 0.80-0.98 ตามลำดับ ขณะที่อัตราการเติมผงถ่าน 10 และ 15 phr แสดงค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงที่ช่วงความถี่ 700-6400 เฮิรตซ์ อยู่ในช่วง 0.33-0.60 กล่าวได้ว่าผลการเติมผงถ่านที่ 5 phr สามารถดูดซับเสียงได้ดีที่สุด จากการศึกษาโครงสร้างจุลภาคของโฟมยางพารา พบว่ารูพรุนของโฟมยางพารามีขนาดเล็กลงตามปริมาณการเติมผงถ่านจากซังข้าวโพดที่เพิ่มขึ้น ผงถ่านที่เติมจะจากตัวอยู่ทั่วไปในโฟมยางพาราและช่วยยึดโครงสร้างให้มีความแข็งแรงขึ้น ส่งผลให้ค่าการดูดซับของโฟมยางพารามีความค่าแตกต่างกัน
Article Details
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
[2] ประภัสสร รัตนไพบูลย์. (2558). การผลิตถ่านกัมมันต์จากซังข้าวโพดที่กระตุ้นด้วยน้ำและซิงค์คลอไรด์ร่วมกับรังสีไมโครเวฟ. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี. สาขาฟิสิกส์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
[3] การยางแห่งประเทศไทย(ศูนย์วิจัยยาง) เว็บไซต์ : http://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=4567&filename=index สืบค้นวันที่ 7 มิ.ย. 2562
[4] American National Standard. (2004). Standard Test Method for Impedance and Absorption of Acoustical Materials by Impedance Tube Method C 384 – 04.
[5] Cowan, J.P. (1993). Handbook of Environmental Acoustics. John Wiley & Sons Inc. USA.
[6] Ballou, G.M. (2008). Handbook for Sound Engineers 4nd ed. Elsevier Inc. USA.
[7] Brown, R. (2002). Handbook of Polymer Testing. Rapra Technology Limited, United Kingdom.