ความเต็มใจในการจ่ายค่าวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความเต็มใจในการจ่ายค่าวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเงินซื้อวัสดุก่อสร้างประเภทประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการประเมินมูลค่าภายใต้สถานการณ์สมมติ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ ความหรูหรา กับการประหยัดน้ำ สำหรับวัสดุก่อสร้างประเภทประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามออนไลน์ จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 409 คน จำแนกโดยกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการจากร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างทั้งแบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นหญิงและชายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 30,000 บาท อาศัยในบ้านแบบบ้านเดี่ยว โดยเป็นเจ้าของเอง หรือบุคคลในบ้านเป็นเจ้าของ และเมื่อได้นำความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวกับความหรูหราและการประหยัดน้ำ มาทำการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ตัวแปร จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน มีความเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยแตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้ในภาพรวมทุกกลุ่มมีความเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับความหรูหราที่ราคาเฉลี่ย 2,530 บาท และเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับประหยัดน้ำมากกว่าเดิม ที่ราคาเฉลี่ย 4,080 บาท
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
Jareemit D & Limmeechokchai B. (2017). Influence of Changing Behavior and High Efficient Appliances on Household Energy Consumption in Thailand. International Conference on Alternative Energy in Developing Countries and Emerging Economies 2017 AEDCEE, 25-26 May 2017, Bangkok, Thailand.
Frederiks, E. R., Stenner, K., & Hobman, E. V. (2015). Household energy use: Applying behavioural economics to understand consumer decision-making and behaviour. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 41(Supplement C), 1385–1394.
ณัฐธิยาน์ โลหะบริสุทธิ์. (2561). ความต้องการและการดำเนินงานของธุรกิจบริการวัสดุก่อสร้าง ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับ CEOs & CMOs. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ออนไลน์ http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/11.
ธีรนงค์ สกุลศรี. (2562). ได้เวลา “รักษ์น้ำ” เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน. (20 มกราคม 2563) สืบค้นจาก https://stock.newsplus.co.th/165762.
Donaldson, C., Shackley, P., & Abdalla, M. (1997). Using Willingness To Pay To Value Close Substitutes: Carrier Screening for Cystic Fibrosis Revisited. Health Economics, 6(2), 145–159.
Céline Michaud and Daniel Llerena. (2010). Green Consumer Behaviour: an Experimental Analysis of Willingness to Pay for Remanufactured Products. Business Strategy and the Environment Bus. Strat. Env. (2010) Published online in Wiley Online Library. file:///C:/Users/Kantika.J/Downloads/R12Llerena-Michaud-BusStratEnv.pdf.
Zhang, D., & Kallesen, R. (2008). Incorporating competitive price information into revenue management. Journal of Revenue and Pricing Management, 7(1), 17-26.
Tibor Scitovszky. (1944). Some Consequences of the Habit of Judging Quality by Price. The Review of Economic Studies, Volume 12, Issue 2, 1944, Pages 100–105.
Biswas, A., & Sherrell, D. L. (1993). The influence of product knowledge and brand name on internal price standards and confidence. Psychology & Marketing, 10(1), 31–46. https://doi.org/10.1002/mar.4220100104.
ระพีพรรณ พิริยะกุล. (2558). พฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานและมาตรการส่งเสริมการบริโภค. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1. สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Zeithaml, V. A., Berry, L.L. and Parasuraman, A. (1996). The behavioural consequences of service quality. Journal of Marketing Management, 60(4), 31-46.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล และคณะ. (2552). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะ ของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 36 ฉ.141. น. 1 – 17.
ฉัฐจุฑา นกจันทร์. (2555). การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และบุคลากรเจเนอเรชั่นวาย: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. จันทรเกษมสาร. ปีที่ 18 ฉบับที่ 34 (2012): มกราคม - มิถุนายน 2555. น. 117 – 125.
Kim, S., & Pysarchik, D.T. (2000). Predicting purchase intentions for uni-national and bi-national products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6), 280–291.