การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบโครงสร้างท่าเทียบเรือเพื่อการใช้ประกอบการปรับปรุงท่าเทียบเรือ ปัจจัยในการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ 1.การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบโครงการ ลักษณะภูมิประเทศ ความสูงต่ำรวมถึงความกว้างยาวของชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาทางทะเล การขุดลอกร่องน้ำที่ส่งผลให้ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำเปลี่ยนแปลง 2.การเปลี่ยนแปลงประเภท ขนาดและปริมาณเรือที่เข้าออกบริเวณท่าเทียบเรือที่ส่งผลต่อการ กัดเซาะชายฝั่งและคุณภาพน้ำทะเล การคมนาคมขนส่ง 3.ทัศนคติและการยอมรับของชุมชน ระดับการรบกวนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ 4.ข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ ระดับเสียง คุณภาพน้ำทะเลและนิเวศวิทยา รวมถึงพื้นที่ของถังเก็บสารเคมีหรือเชื้อเพลิงและระบบควบคุมความปลอดภัย ส่วนการประเมินและการตรวจสอบโครงสร้างท่าเทียบเรือที่มีอายุการใช้งานนานอาจมีผลกระทบด้าน การเสื่อมสภาพของวัสดุ อายุการใช้งาน เสถียรภาพ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างโดยใช้วิธีการทดสอบแบบไม่ทำลายและกึ่งทำลาย ประกอบกับข้อมูลทางกายภาพของโครงสร้างทั้งด้านคุณสมบัติวัสดุ รายละเอียดทางวิศวกรรมและทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค ข้อมูลเรือที่เทียบท่า ความลึกหน้าท่า ความเร็วลม อุปกรณ์ประกอบเหล็กผูกเชือกเรือ ยางกันกระแทก นำมาวิเคราะห์ประเมินเสถียรภาพของโครงสร้างท่าเทียบเรือต่อไป จากการศึกษาพบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างก่อนการปรับปรุงท่าเทียบเรือจะทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานและสามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
Article Details
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
[2] วิเชียร ชำลี. (2552). เอกสารประกอบการสอนความคงทนคอนกรีต. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[3] ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค (CPAC Academy), (2002). หนังสือวิชาการของซีแพค “คอนกรีต เทคโนโลยี (Concrete Technology)”
[4] ทวีชัย สำราญวานิช, (2552). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การทำนายการแทรกซึมของ คลอไรด์ในคอนกรีตที่อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมคลอไรด์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[5] ASTM C42/C42M-03 (2003), Standard Test Method for Obtaining and Testing Drilled Cores and Sawed Beams of Concrete. Annual Book of ASTM Standards, West Conshohocken, PA, American Society for Testing and Materials.
[6] ASTM C805-02 (2003), Standard Test Method for Rebound Number of Hardened Concrete. Annual Book of ASTM Standards, Vol.04.02, ASTM, West Conshohocken, PA.
[7] ASTM C597 (2003), Standard Test Method for Pulse Velocity through Concrete. Annual Book of ASTM Standards, Vol.04.02, ASTM, West Conshohocken, PA.
[8] ASTM D6432 (2003), Standard Guide for Using the Surface Ground Penetrating Radar Method for Subsurface Investigation, Annual Book of ASTM Standards, ASTM, West Conshohocken, PA, American Society for Testing and Materials.
[9] ASTM A956-12 (2003), Standard Test Method for Leeb Hardness Testing of Steel Products. Annual Book of ASTM Standards, Vol.01.05, ASTM, West Conshohocken, PA.
[10] ASTM C876 (2003), Standard Test Method for Half–Cell Potentials of Uncoated Reinforcing Steel in Concrete. Annual Book of ASTM Standards, Vol.03.02, ASTM, West Conshohocken, PA.
[11] ASTM A751 (2007), Standard Test Method, Practices, and Terminology for Chemical Analysis of Steel Products. Annual Book of ASTM Standards, Vol.03.02, ASTM, West Conshohocken, PA.