ประสิทธิภาพของเศษยางเหลือใช้ที่มีต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรม สำหรับงานคันทาง

Main Article Content

จักราวุธ ตันสกุล
ศุภชัย ไทยพุ่ม
นพดล สุดสุย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเศษยางจากอุตสาหกรรมรถยนต์กลายเป็นขยะและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี การประยุกต์ใช้
ในงานวิศวกรรมเทคนิคธรณีเป็นอีกทางหนึ่งเพื่อลดปริมาณขยะจากเศษยางเหลือทิ้งโดยการนำมาผสมเข้า
กับดินเพื่อเป็นวัสดุมวลเบาในกรณีที่จะต้องก่อสร้างงานบดอัดบนชั้นดินเหนียวอ่อน ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของเศษยางผสมกับดินลูกรังที่อัตราส่วนต่างกันโดยทำการทดสอบการบดอัดและการทดสอบ ซี บี อาร์ นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ได้สร้างบ่อทดสอบเพื่อทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดิน จากการทดสอบพบว่าค่าความหนาแน่นแห้งมีค่าลดลงตามสัดส่วนเศษยางที่เพิ่มขึ้น และผลการทดสอบซี บี อาร์และการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินแสดงให้เห็นว่าค่ากำลังรับแรงแบกทานลดลงมากเมื่อเพิ่มปริมาณเศษยาง นอกจากนั้นในงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้การทดสอบแบบหยั่งเบาในสนามในการประเมินคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรม จากผลการทดสอบพบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณเศษยางส่งผล
ให้ค่าจำนวนการยกค้อนลดลงและจำนวนการยกค้อนมีค่าเพิ่มขึ้นตามความลึกของการทดสอบในทุกกรณี
ผลการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินผสมเศษยางในงานวิจัยนี้สามารถนำไปสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ เพื่อใช้หาคุณสมบัติต่างๆของวัสดุทางเลือกดินผสมเศษยางจากการประเมินด้วยการทดสอบการหยั่งเบาในสนาม

Article Details

How to Cite
ตันสกุล จ., ไทยพุ่ม ศ., & สุดสุย น. (2022). ประสิทธิภาพของเศษยางเหลือใช้ที่มีต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรม สำหรับงานคันทาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 4(2), 40–52. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RJST/article/view/246075
บท
บทความวิจัย

References

Yensri, P., Jongpradist, P. & Jamsawang, P. (2017). Behavior of T-Shaped Deep Cement Mixing Piles under Unit Cell Embankment Tests by a Physical Model, KMUTT R&D J., 40(3), 339-353.

Buritatun, A., Takaikaew, T., Horpibulsuk, S., Udomchai, A., Hoy, M., Vichitcholchai, N. & Arulrajah, A. (2020). Mechanical Strength Improvement of Cement-Stabilized Soil Using Natural Rubber Latex for Pavement Base Applications. J. Mater. Civ. Eng., 32(12), 04020372

Yensri, P., Jongpradist, P. & Jamsawang, P. (2017). Behavior of T-Shaped Deep Cement Mixing Piles under Unit Cell Embankment Tests by a Physical Model, KMUTT R&D J., 40(3), 339-353.

ชูศักดิ์ คีรีรัตน์, ปิยะพงศ์ กี่สวัสดิ์คอน และทวีศักดิ์ รุ่งศักดิ์ทวีกุล. (2021). การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้วยเถ้าหนักจีโอโพลิเมอร์สำหรับงานทาง. Rattanakosin Journal of Science and Technology, 3(2), 9–18.

Matsuo, A. (2002). Mechanical properties of air-cement-treated soils. Ground improvement, 6(1), 69–78.

Bosscher, P.J., Edil, T.B. & Eldin, N.N. (1992). Construction and performance of ashredded waste tire test embankment, Transp. Res. Rec, 44–52.

Department of Rural Roads. (2013). Standard Drawing.

Department of Highway. (1999). Standard of soil aggregate for subbase.

อรุณเดช บุญสูง (2020). การประเมินค่ากำลังรับน้ำหนักชั้นดินเหนียวแข็งด้วยวิธีการตอกหยั่งเบา.

วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 31(3), 127–136.