ผลของความยาวส่วนทำระเหยของท่อความร้อนแบบสั่นปลายปิดที่มีต่อสมรรถนะการระบายความร้อนของซีพียูคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบ เปรียบเทียบผลของความยาวส่วนทำระเหยของท่อความร้อนแบบสั่นปลายปิดที่มีต่อสมรรถนะการระบายความร้อนของอุปกรณ์ภายใoคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โดยท่อความร้อนฯ ทำจากท่อทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2.16 มิลลิเมตร ความยาวรวม 4 เมตร นำมาขดให้มีความยาวส่วนทำระเหยเท่ากับความยาวส่วนควบแน่น โดยแบ่งเป็น 3 ขนาด ได้แก่ 40 70 และ 100 มิลลิเมตร ภายในบรรจุสารทำงาน 3 ชนิด ได้แก่ เมทานอล เอทานอล และอะซิโตน อัตราส่วนการเติมสารทำงานเป็น 25% ของปริมาตรทั้งหมด ซี่งท่อความร้อนฯจะถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมในการระบายความร้อนออกจากคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ จากการทดสอบ พบว่า ที่ความยาวของส่วนทำระเหยของท่อความร้อนแบบสั่นปลายปิด ขนาด 100 มิลลิเมตร และใช้เอทานอลเป็นสารทำงานมีสมรรถนะในการระบายความร้อนออกจากซีพียู การ์ดแสดงผล และ เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะได้สูงสุด โดยสามารถลดอุณหภูมิของซีพียู การ์ดแสดงผล และ เมนบอร์ด อยู่ระหว่าง 3 – 5 oC เมื่ออุณหภูมิของอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์อยู่ในช่วง 33 – 61 oC ในขณะที่อากาศที่ไหลผ่านอุปกรณ์เสริมระบายความร้อนมีอุณหภูมิลดลงเฉลี่ย 0.75 oC อัตราการถ่ายเทความร้อนเฉลี่ย 2.89 W และ ประสิทธิผลของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเฉลี่ยสูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.194
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
กิตติศักดิ์ พรมเพ็ง, ศราวุฒิ ทองถนอม, ศุภฤกษ์ เฉลิมลักษณ์. (2557). การพัฒนาอุปกรณ์เสริมระบายความร้อนซีพียูคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะด้วยท่อความร้อน.ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
ฉัตรณรงค์ ศรีวิใจ, ธนพงศ์ ไวยเวทา, ศรายุทธ อนันรัตนพานิชย์, สิริกร แจ่มสว่างชุด. (2552). จำลองระบบระบายความร้อนน้ำมันไฮดรอลิกด้วยท่อความร้อนแบบเทอร์โมไซฟอน. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
ยุธนา ศรีอุดม, อนุรัตน์ เทวตา, เอกนัฏฐ์ กระจ่างธิมาพร. (2564). การศึกษาเชิงทดสอบและการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้ท่อความร้อนสำหรับการระบายความร้อนออกจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบม, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 13 กรกฎาคม 2563 : pp 62 – 73.
ยุธนา ศรีอุดม, อนุรัตน์ เทวตา, สังคม สัพโส, นิวัตน์ ประทุมไชย. (2564). การศึกษาเชิงทดสอบการใช้น้ำสำหรับระบายความร้อนออกจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564 : pp 123 – 137.
เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์ และ พีระพล ธีระพงษ์รามกุล. (2554). การออกแบบและทดสอบสมรรถนะเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดใบมีดกวาดผิวสำหรับการผลิตน้ำจิ้มไก่ระดับอุตสาหกรรม.วิทยาสารกำแพงแสน,
ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2554 : pp 83 – 94.
พฤทธ์ สกุลช่างสัจจะทัย, ถนัด เกษประดิษฐ. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งท่อความร้อนเพื่อพัฒนาการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Khandekar S, Groll M. (2004). Closed and open loop pulsating heat pipes. 13th International heat pipe Conference; Shanghai. China; 2004; pp 57-70.
Maezawa, S., Gi, K. Y., Minamisawa, A. and Akachi, H. (1955) Thermal performance of capillary tube thermosyphon. In Proceedings of the IX International Heat Pipe Conference, Albuquerque, USA.