การศึกษาประสิทธิผลของโคเอนไซม์คิวเท็นในการช่วยพัฒนา ความตระหนักรู้และความตื่นตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันพบว่าภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรมากขึ้นและมีช่วงวัยที่เร็วขึ้น อาการต้น ๆ ที่เป็นสาเหตุคือการเสียความตระหนักรู้และความตื่นตัว (Vigilance) ซึ่งจะทำให้การทำงานของสมองเสื่อมถอยลง (Cognitive decline) อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) โดยการรับประทานอาหารเสริมประกอบด้วยโคเอนไซม์คิวเท็นวันละ 200 มิลลิกรัมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ในการพัฒนาความตระหนักรู้และความตื่นตัว (Vigilance) ในกลุ่มคนที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มตัวอย่างประชากรเพศหญิงทั้งสิ้น 31 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทาน โคเอ็นไซม์คิวเท็น 15 คน และกลุ่มที่รับประทานยาหลอก 16 คน โดยใช้การทดสอบ Trail Making Test A และ Modified Mackworth Clock Test เพื่อวัดค่าระยะเวลาการตอบสนอง (Reaction time) และความแม่นยำ (Accuracy rate) เมื่อเริ่มต้นงานวิจัยและที่ 4 และ 8 สัปดาห์ จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าทั้งสองกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงของการวัดความแม่นยำที่ดีขึ้นตลอด 8 สัปดาห์จากประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning curve) แต่พบว่าระหว่างสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ในแต่ละช่วงเวลา ส่วนการวัดระยะเวลาการตอบสนองพบว่าไม่มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ทั้งสองกลุ่ม และระหว่างสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการรับประทานโคเอนไซม์คิวเท็นในเพศหญิงอายุ 40-60 ปีที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อมไม่ได้ช่วยพัฒนาความตระหนักรู้และความตื่นตัว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
Zholdassova, M. K., Matthews, G., Kustubayeva, A. M., & Jakupov, S. M. (2012). The cognitive neuroscience of vigilance – A test of temporal decrement in the Attention Networks Test (ANT). International Journal of Psychological and Behavioral Sciences, 65, 791-796.
Martel, A., Dahne, S., & Blankertz, B. (2014). EEG predictors of covert vigilant attention. Journal of Neural Engineering, 11.
Spindler, M., Beal, M. F., & Henchcliffe, C. (2009). Coenzyme Q10 effects in neurodegenerative disease. Neuropsychiatric disease and treatment, 5, 597-610.
Nattagh-Eshtivani, E. (2018). The effect of Coenzyme Q10 supplementation on serum levels of lactate, pyruvate, matrix metalloproteinase 9 and nitric oxide in women with migraine. A double blind, placebo, controlled randomized clinical trial. European Journal of Integrative Medicine, 21, 70 - 76. https://doi.org/10.1016/j.eujim.2018.06.009
Cornelius, N. (2017). Evidence of oxidative stress and mitochondrial dysfunction in spinocerebellar ataxia type 2 (SCA2) patient fibroblasts: Effect of coenzyme Q10 supplementation on these parameters. Mitochondrion, 34, 103-114.
https://doi.org/10.1016/j.mito.2017.03.001
Schulz, J. B., & Beal, M. F. (1995). Neuroprotective effects of free radical scavengers and energy repletion in animal models of neurodegenerative disease. Ann N Y Acad Sci, 765, 100-118. https://doi.org/10.1111/j.1749-6632.1995.tb16565.x
Yoritaka, A. (2015). Randomized, double-blind, placebo-controlled pilot trial of reduced coenzyme Q10 for Parkinson's disease. Parkinsonism & Related Disorders, 21(8), 911-916. https://doi.org/10.1016/j.parkreldis.2015.05.022
Ostrowski, R. P. (2000). Effect of coenzyme Q10 on biochemical and morphological changes in experimental ischemia in the rat brain. Brain Res Bull, 53(4), 399-407. https://doi.org/10.1016/s0361-9230(00)00406-8
Crane, F. L., Löw, H., Sun, I., Navas, P., & Gvozdjáková, A. (2014). Plasma membrane coenzyme Q: Evidence for a role in autism. Biologics, 8, 199-205. https://doi.org/10.2147/btt.s53375
Cucinotta, F., Ricciardello, A., Turriziani, L., Mancini, A., Keller, R., Sacco, R., . . . Persico, A. M. (2022). Efficacy and Safety of Q10 Ubiquinol With Vitamins B and E in Neurodevelopmental Disorders: A Retrospective Chart Review. Front Psychiatry, 13, 829516. https://doi.org/10.3389/fpsyt.2022.829516.
Tiano, L., Carnevali, P., Padella, L., Santoro, L., Principi, F., BrugË, F., . . . Littarru, G. P. (2011). Effect of Coenzyme Q10 in mitigating oxidative DNA damage in Down syndrome patients, a double blind randomized controlled trial. Neurobiology of Aging, 32(11), 2103-2105. https://doi.org/10.1016/j.neurobiolaging.2009.11.016
Choudhary, D., Bhattacharyya, S., & Bose, S. (2017). Efficacy and Safety of Ashwagandha (Withania somnifera (L.) Dunal) Root Extract in Improving Memory and Cognitive Functions. Journal of Dietary Supplements, 14(6), 599-612. https://doi.org/10.1080/19390211.2017.1284970
Par, R. Y. X., Teo, C. W. L., Tan, J. J. K., Ung, Y. W., Heng, K. S., Hang, L. T., . . . Yap, W. N. (2022). An open-label, single-arm pilot study of tocotrienols supplementation on improving memory and attention in healthy young adults. Journal of functional foods, 92, 1050-1055.