การจัดตารางพยาบาลแบบหลายวัตถุประสงค์: กรณีศึกษา ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การจัดตารางการทำงานพยาบาล, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมบทคัดย่อ
การจัดตารางการทำงานพยาบาลเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน หากตารางการทำงานของพยาบาลไม่มีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลกระทบต่อพยาบาลในด้านสุขภาพ อันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับวันหยุดน้อย การพักผ่อนไม่เพียงพอ การเกิดภาวะเครียด ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout syndrome) และการลาออกของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ในที่สุด การสรรหาบุคลากรใหม่เข้ามาทดแทนในตำแหน่งที่ลาออกไปนั้น ไม่เพียงแต่จะเสียเวลาในการคัดกรองเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ หากแต่ยังมีค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้งานใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามระบบ กฎเกณฑ์ และวัฒนธรรมใหม่ได้ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้เลือกที่จะทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อการจัดตารางพยาบาลแบบหลายวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม โดยมุ่งหวังให้วิธีการดังกล่าวถูกนำไปใช้แทนที่วิธีการจัดตารางแบบดั้งเดิม ที่ใช้เวลาในการจัดยาวนาน มีแนวโน้มในการเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย และที่สำคัญที่สุดคือ ขาดความเป็นธรรมในเชิงภาระงานที่ได้รับมอบหมาย สำหรับการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการสอบถามพยาบาลวิชาชีพผู้มีประสบการณ์จากโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย จากนั้นจึงนำข้อกำหนดต่างๆ ที่ได้รับ มาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยแบบจำลองดังกล่าวประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์หลักทั้งสิ้น 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. การลดค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างพยาบาลที่เกินความจำเป็น 2. การเพิ่มความเท่าเทียมในภาระงาน และ 3. การเพิ่มความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานโดยลดการละเมิดข้อจำกัด ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบแบบจำลองดังกล่าวผ่านปัญหาจำลองขนาดเล็ก จากนั้นจึงนำผลที่ได้ไปตรวจสอบความถูกต้องจากวัตถุประสงค์ และข้อจำกัด เพื่อเป็นแนวทางการสร้างโปรแกรมการจัดตารางการทำงานของพยาบาลได้ในอนาคต
References
J. Guo, J. F. Bard, “A column generation-based algorithm for midterm nurse scheduling with specialized constraints, preference considerations, and overtime,” Computers & Operations Research., vol. 138, 2022.
R. Bruni, P. Detti, “A flexible discrete optimization approach to the physician scheduling problem,” Operations Research for Health Care., vol. 3, pp.191-199, 2014.
R. Silvestro, C. Silvestro, “An evaluation of nurse rostering practices in the national health service,” Journal of Advanced Nursing., vol. 32, no. 3, pp. 525-535, 2000.
E. K. Burke, P. D. Causmaecker, G. V. Berghe and H. V. Landeghem, “The state of the art of nurse rostering,” Journal of Scheduling., vol. 7, no. 6, pp. 441-499, 2004.
C. A. Glass, R. A. Knight, “The nurse rostering problem: A critical appraisal of the problem structure,” European Journal of Operational Research, vol. 202, pp. 379–389, 2010.
A. C. Svirsko, B. A. Norman, D. Rausch and J. Woodring, “Using mathematical modeling to improve the emergency department nurse-scheduling process,” Journal of Emergency Nursing., vol. 45, no. 4, pp. 425-432, 2019.
D. L. Kellogg and S. Walczak, “Nurse Scheduling: from academia to implementation or not?,” Interfaces., vol. 37, no. 4, pp. 355-369, 2007.
A. H. Nobil, S. M. E. Sharifnia and L. E. Cárdenas-Barrón, “Mixed integer linear programming problem for personnel multi-day shift scheduling: A case study in an Iran hospital,” Alexandria engineering journal., vol. 61, no. 1, pp. 419-426, 2022.
A. Legrain, H. Bouarab and N. Lahrichi. “The nurse scheduling problem in real-life,” Journal of Medical Systems., vol. 39, no. 1, pp. 160, 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.