การพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรม กรณีศึกษาภัยพิบัติจากอุทกภัย
คำสำคัญ:
โลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรม, การโปรแกรมไม่เชิงเส้นจำนวนเต็ม, ภัยพิบัติอุทกภัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมกรณีการเกิดอุทกภัยในประเทศไทย ด้วยตัวแบบการโปรแกรมไม่เชิงเส้นจำนวนเต็ม เพื่อกำหนดสถานที่ตั้งศูนย์พักพิง และจำนวนของทรัพยากรให้เพียงพอต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยตัวแบบที่พัฒนาขึ้นได้นำไปประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาพื้นที่ประสบอุทกภัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีทั้งหมด 10 ตำบล 183 หมู่บ้าน และมีผู้ประสบภัยรวม 82,764 คน ในจำนวนนี้มี 3 หมู่บ้าน ซึ่งผู้ประสบภัย 570 คน ไม่สามารถพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านได้ ต้องถูกขนย้ายไปยังศูนย์พักพิง โดยงานวิจัยกำหนดขอบเขตสำคัญของปัญหา คือ 1) ศูนย์กลางในการกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ มีจำนวน 2 ศูนย์ คือ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม และที่ว่าการอำเภอกันทรวิชัย 2) ศูนย์พักพิงจะเป็นศูนย์ทางเลือก จำนวน 19 ศูนย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนราชการต่าง ๆ เช่น โรงเรียนและวัด และ 3) การขนย้ายผู้ประสบภัยและการขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์จะใช้พาหนะประเภทรถบรรทุกเท่านั้น จากการประมวลผลตัวแบบ INLP ด้วยโปรมแกรม LINGO 13.0 พบว่า ควรเปิดใช้งานศูนย์พักพิงจำนวน 2 ศูนย์ คือ ศูนย์โรงเรียนชุมชนมะค่า เพื่อรับผู้ประสบภัยจากหมู่บ้านกุดหัวช้าง จำนวน 164 คน และศูนย์โรงเรียนบ้านมะกอก เพื่อรับผู้ประสบภัยจากบ้านโขงกุดเวียน จำนวน 190 คน และบ้านห้วยชัน จำนวน 216 คน สำหรับอีก 180 หมู่บ้านที่ยังสามารถพักอาศัยอยู่ได้นั้น ส่วนใหญ่ได้รับสิ่งของบรรเทาทุกข์จากศูนย์กระจายที่ว่าการอำเภอกันทรวิชัย ซี่งมีระยะทางใกล้กว่าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งทั้งการขนย้ายผู้ประสบภัยและการกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ ควรขนย้ายด้วยรถบรรทุกปฏิบัติการขนาด 4 ล้อ ทั้งนี้ผลเฉลยของตัวแบบที่ได้ สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ครอบคลุมทั้งหมด ด้วยต้นทุนรวมในการดำเนินงานต่ำที่สุดเท่ากับ 20.859 ล้านบาท อีกทั้งตัวแบบที่พัฒนาขึ้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ดังผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ความไว รวมถึงสามารถพัฒนาต่อสำหรับการจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมกรณีการเกิดภัยพิบัติประเภทอื่นได้
References
กรมทรัพยากรธรณี, “แนวทางการการลดความเสี่ยงภัยสึนามิของประเทศไทย,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.dmr.go.th. [วันที่เข้าถึง 1 มีนาคม 2566].
วีรชัย อู๋สมบูรณ์ และ ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล, “การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย,” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.
P. Trunick, “Special report: delivering relief to tsunami victims,” Logistics Today., vol. 46, no. 2, pp. 1-3, 2005.
L. N. V. Wassenhove, “Humanitarian aid logistics: supply chain management in high gear,” Journal of the Operational Research Society., vol. 57, no. 5, pp. 475-489, 2006.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, “แนวทางการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://122.155.1.141/inner.PRDP M2.53/cms/menu_6284/4119.1/. [วันที่เข้าถึง 1 ธันวาคม 2565].
S. Bhimani and J. S. Song, “Gaps between research and practice in humanitarian logistics,” Journal of Applied Business Economics., vol. 18, no. 1, 2016.
T. Wakolbinger, F. Toyasaki, M. Christopher and P. Tatham, “Impacts of funding systems on humanitarian operations,” in Humanitarian logistics: meeting the challenge of preparing for and responding to disasters, London, Kogan Page, 2011.
คมสัน โสมณวัตร, “ระบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กรณีศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ., ปีที่ 7,ฉบับที่ 1, น. 164-172, 2559.
S. Gupta, N. Altay and Z. Luo, “Big data in humanitarian supply chain management: a review and further research directions,” Annals of Operations Research., pp. 1-21, 2017.
T. E. Russell, “The humanitarian relief supply chain: analysis of the 2004 South East Asia earthquake and tsunami,” Master's thesis, Massachusetts Institute of Technology, 2005.
B. Render, R. Stair and M. E. Hanna, Quantitative Analysis for Management, Prentice Hall: New Jersey. 2012.
N. Cotes and V. Cantillo, “Including deprivation costs in facility location models for humanitarian relief logistics,” Socio-Economic Planning Sciences., vol. 65, pp. 89-100, 2019.
A. J. Bozorgi-Amiri, M. Saeed and S. M. Al-e-Hashem, “A multi-objective robust stochastic programming model for disaster relief logistics under uncertainty,” OR Spectrum., vol. 35, no. 4, pp. 905-933, 2013.
O. Rodríguez-Espíndola, P. Albores and C. Brewster, “Disaster preparedness in humanitarian logistics: A collaborative approach for resource management in floods,” European Journal of Operational Research., vol. 264, no. 3, pp. 978-993, 2018.
ไพโรจน์ แสนดี, อนันทชัย ชำนาญหมอ และ สุนาริน จันทะ, “การศึกษาเส้นทางเดินรถในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบอุทกภัยออกจากพื้นที่อันตราย เมื่อระดดับน้ำสูงกรณีศึกษา: ตำบลลาดสวาย อำเภอล้าลูกกา จังหวัดปทุมธานี,” วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา., ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, 2557.
ปุณยภา สุทธิจำนงค์ และ สุนาริน จันทะ, “การจัดเส้นทางเดินรถขนส่งในการอพยพเมื่อเกิดอุทกภัย โดยการพิจารณาประเภทของผู้ประสบภัย,” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ., ปีที่ 27, ฉบับที่ 2, 2560.
เกริก วงศ์ลือชา, ฐิติพงศ์ จำรัส, ชุลีพร กุศลคุ้ม และศิโรรัตน์ พัฒนไพโรจน์, “การพัฒนารูปแบบทางคณิตศาสตร์ สำหรับการวางแผนเส้นทางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กรณีศึกษาอุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดจากพายุโพดุลและคาจิกิใน ปี พ. ศ. 2562,” วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)., ปีที่ 22, ฉบับที่ 3, น. 110-126, 2565.
จีระพงศ์ ทองพันธ์, “การพัฒนาอัลกอริทึมการจัด เส้นทางเดินรถขนส่งแบบมีหลายคลังสินค้าที่มีกรอบเวลาไม่แน่นอนสำหรับจัดการภัยพิบัติทางน้ำ,” สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร, 2557.
ธนาภา ควรผดุงศักดิ์ และ สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย, “การพัฒนาฮิวริสติกส์เพื่อจัดเส้นทางเดินรถขนส่ง สำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ณ เวลาที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงไป,” วิศวกรรมสาร มก., ปีที่ 30, ฉบับที่ 99, 2560.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, “ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงสาธารณภัย จังหวัดมหาสารคาม,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://opendata_tst.dopa .go.th/ download.php?cid=3&page=1. [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565].
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, “แผน ปภ. จ.มหาสารคาม ปรับปรุง 2563,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.disaster.go.th/th/download/download/25. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566].
บริษัท จิซทิกซ์ จำกัด, “อัตราค่าบริการขนส่ง,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://giztix.com /pricing.
[สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566].
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, “คู่มือเครื่องจักรกลสาธารณภัยสำหรับผู้บริหาร,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://measures.disaster.go.th/inner.citeta-1.189 /download/menu_6240/2074.3/. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.