การหารูปแบบการทำนายอัตราการขจัดเนื้องานในกระบวนการกัดอาร์คด้วยกระแสไฟฟ้าของวัสดุ Ti-6Al-4V ด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม

Authors

  • จุราพรรณ ทองขัน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • อภิวัฒน์ มุตตามระ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Keywords:

โครงข่ายประสาทเทียม การเลือกสุ่มข้อมูลแบบร้อยละ การแบ่งข้อมูลแบบไขว้ กระบวนการกัดอาร์คด้วยกระแสไฟฟ้า อัตราการขจัดเนื้องาน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการทำนายอัตราการขจัดเนื้องานในกระบวนการกัดอาร์คด้วยกระแสไฟฟ้าของวัสดุ Ti-6Al-4V โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโครงข่ายประสาทเทียมแบบป้อนไปข้างหน้าหลายชั้นด้วยระบบการเรียนรู้แบบแพร่กระจายกลับ โครงข่ายประสาทเทียมประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า 4 ปัจจัย คือ กระแสไฟฟ้า เวลาเปิด ความต่างศักย์ไฟฟ้า และปัจจัยประสิทธิภาพ ปัจจัยส่งออก 1 ปัจจัย คือ อัตราการขจัดเนื้องาน วิธีการแบ่งข้อมูลการฝึกสอนและทดสอบ คือ วิธีการแบ่งข้อมูลแบบไขว้ 5 ส่วน จากนั้นดำเนินการหารูปแบบการทำนายอัตราการขจัดเนื้องานในกระบวนการกัดอาร์คด้วยกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างของโครงข่ายประสาทเทียมที่เหมาะสมประกอบด้วยจำนวน 4 นิวรอนในชั้นอินพุต จำนวน 4 นิวรอนในชั้นซ่อนที่หนึ่ง จำนวน 4 นิวรอนในชั้นซ่อนที่สอง และจำนวน 1 นิวรอนในชั้นแสดงผล (4-4-4-1) รูปแบบฟังก์ชันการถ่ายโอนในชั้นซ่อนและชั้นแสดงผล คือ ฟังก์ชันล็อก-ซิกมอยด์ กระบวนการเรียนรู้ในการปรับค่าน้ำหนักและไบแอส คือ วิธีเลเวนเบิร์ก-มาร์ค ประสิทธิภาพของโครงข่ายประสาทเทียมให้ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองเท่ากับ 0.06 และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.9861 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงข่ายประสาทเทียมสามารถประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์ของกระบวนการกัดอาร์คด้วยกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิผลและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

[1]
ทองขัน จ., วงษ์ทัศนีย์กร ว., and มุตตามระ อ., “การหารูปแบบการทำนายอัตราการขจัดเนื้องานในกระบวนการกัดอาร์คด้วยกระแสไฟฟ้าของวัสดุ Ti-6Al-4V ด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม”, TJOR, vol. 5, no. 1, pp. 36–47, Jun. 2017.