การวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกวิธีการในการปิดพื้นที่บ่อเหมืองถ่านหินเก่าในพื้นที่กาลิมันตันตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย

ผู้แต่ง

  • ฺบราลี เหมราสวัสดิ์ สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาคพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • พัชราภรณ์ ญาณภิรัต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • ศันสนีย์ สุภาภา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

คำสำคัญ:

เหมืองถ่านหิน, การตัดสินใจหลายหลักเกณฑ์, กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นโดยการโหวตเพื่อจัดอันดับ, การจัดอันดับตามความพึงพอใจที่มีความคล้ายกับผลลัพธ์ในอุดมคติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการคัดเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการปิดพื้นที่บ่อเหมืองถ่านหินเก่าจำนวนทั้งหมด 8 บ่อ ในพื้นที่กาลิมันตันตะวันออก โดยพื้นที่ของการปิดบ่อเหมืองจะต้องเป็นไปตามกฎหมายการทำเหมือง ประเทศอินโดนีเซีย งานวิจัยประยุกต์วิธีการแบบคลุมเครือสำหรับการจัดอันดับตามความพึงพอใจที่มีความคล้ายกับผลลัพธ์ในอุดมคติ (Fuzzy Technique for Order of Preference by Similarity to Ideal Solution) ในการประเมินความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อคัดเลือกวิธีการในการปิดบ่อเหมือง นอกจากนี้ประยุกต์วิธีกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นโดยการโหวตเพื่อจัดอันดับ (Voting Analytic Hierarchy Process) สำหรับการกำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญของผู้เชี่ยวชาญและค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์ จากผลการประเมินพบว่า พบว่าพื้นที่บ่อเหมืองถ่านหินเก่าทั้ง 8 บ่อ มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับวิธีการการขุดดินเพื่อการถม 4 บ่อ พื้นที่ที่เหมาะสมกับวิธีการเปิดบ่อเหมืองใหม่จำนวน 1 บ่อ พื้นที่ที่เหมาะสมกับวิธีการทำเหมืองทางเลือกด้วยรถไถ 1 บ่อ และพื้นที่ที่เหมาะสมกับวิธีการการปรับปรุงพื้นที่เพื่อประโยชน์อื่น 2 บ่อเหมือง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15

How to Cite

[1]
เหมราสวัสดิ์ ฺ., ญาณภิรัต พ., และ สุภาภา ศ., “การวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกวิธีการในการปิดพื้นที่บ่อเหมืองถ่านหินเก่าในพื้นที่กาลิมันตันตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย”, TJOR, ปี 9, ฉบับที่ 1, น. 55–66, มิ.ย. 2021.