การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของประเทศไทยด้วยวิธีอนุกรมเวลา

ผู้แต่ง

  • อุรชา จันทรภา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นันทชัย กานตานันทะ

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, วิธีการปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์และวินเทอร์, วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่, วิธี SARIMA

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของประเทศไทยด้วยวิธีอนุกรมเวลา โดยเปรียบเทียบการพยากรณ์วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์และวินเทอร์ และวิธี SARIMA ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิธีการพยากรณ์เป็นข้อมูลมูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรายเดือนจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นจำนวนทั้งหมด 144 เดือน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยข้อมูลชุดที่หนึ่ง เป็นข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 จะถูกใช้สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ ส่วนของข้อมูลชุดที่สอง เป็นข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จะใช้ในการเปรียบเทียบความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์โดยใช้ค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ผลการศึกษาพบว่า วิธี SARIMA มีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 10.18% ในขณะที่วิธีปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์และวินเทอร์ และวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ มีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 10.38% 11.06% ตามลำดับ ดังนั้นวิธี SARIMA จึงมีความเหมาะสมและมีความแม่นยำในการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของประเทศไทยมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-06

How to Cite

[1]
จันทรภา อ. และ กานตานันทะ น., “การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของประเทศไทยด้วยวิธีอนุกรมเวลา”, TJOR, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 12–20, ส.ค. 2021.