การประยุกต์ใช้เทคนิคการตัดสินใจสองระดับเพื่อการจัดการระบบสินค้าคงคลังและการขนส่งสินค้า กรณีศึกษาร้านขายส่ง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Tinnakorn Phongthiya Department of Industrial Engineering Faculty of Engineering, Chiang Mai University, Chiang Mai 50202
  • Pornvisa Tharakhum Department of Industrial Engineering Faculty of Engineering, Chiang Mai University, Chiang Mai 50202
  • Chompoonoot Kasemset Department of Industrial Engineering Faculty of Engineering, Chiang Mai University, Chiang Mai 50202

คำสำคัญ:

ตัวการจัดการสินค้าคงคลัง; การจัดกลุ่มสินค้าคงคลังโดยการพิจารณาหลายหลักเกณฑ์; แบบการตัดสินใจสองระดับ; การจัดรถขนส่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอตัวแบบการตัดสินใจสองระดับเพื่อเชื่อมโยงการจัดการสินค้าคงคลังและการจัดรถขนส่งสินค้าของรายขายส่งกรณีศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่เดิมไม่ได้มีวิธีการจัดการที่เหมาะสม ตัวแบบการตัดสินใจระดับที่หนึ่ง เป็นการแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังด้วยการพิจารณาหลายหลักเกณฑ์และการวิเคราะห์ตามลำดับขั้น เพื่อแบ่งสินค้าคงคลังออกเป็น 3 กลุ่ม คือ A, B และ C โดย A คือ กลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญมากที่สุด ส่วน B และ C มีความสำคัญน้อยลงมาตามลำดับ และหารูปแบบการสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับสินค้าแต่ละกลุ่ม ตัวแบบการตัดสินใจระดับที่สอง เป็นการนำผลที่ได้จากตัวแบบระดับที่หนึ่งมาใช้ในการพัฒนาตัวแบบการตัดสินใจเพื่อการจัดตารางรถเพื่อไปรับสินค้าเข้าคลังสินค้า โดยใช้เทคนิคการจัดลำดับงานตามลำดับความสำคัญ ผลที่ได้จากตัวแบบการตัดสินใจทั้งสองระดับ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลย้อนหลังของร้านขายส่งกรณี พบว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงคลังลดลงจาก 35,527,645 บาทต่อปี เหลือ 28,530,943.50 บาทต่อปี หรือลดลงร้อยละ 19.69 และ จำนวนรอบของรถขนส่งในระยะเวลา 3 เดือนลดลงจาก 60 รอบ เหลือ 48 รอบ หรือลดลงร้อยละ 20 คิดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 274,560 บาทต่อปี

References

[1] ธนิตศักดิ์ พุฒิพัฒน์โฆษิต. (2552) องค์ประกอบของกิจกรรมโลจิสติกส์ [ออนไลน์]. ได้จาก:http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=368:2009-07-01-01-15-53&catid=40:logistics&Itemid=87.
[2] ธนิต โสรัตน์. (2554) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ปี 2553/2554 [ออนไลน์]. ได้จากhttp://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2259:--25532554&catid=40:logistics&Itemid=87.
[3] พรวิสา ทาระคำ และ ชมพูนุท เกษมเศรษฐ์. (2559) การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับกรณีร้านขายส่ง. การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559. วันที่ 24-25 มีนาคม 2559, หน้า 57-62.
[4] Tharakhum, P. and Kasemsert, K. (2015) Application of Bi-level Decision-Making Model in Logistic Activities Management for Wholesaler. Proceeding of 15th Thai Value Chain Management and Logistics Conference (Thai VMCL 2015), pp. 940-945.
[5] Tsai, C.Y. and Yeh, S.W. (2008) A multiple objective swarm optimization approach for inventory classification. International Journal of Production Economics, 114, pp. 656-666.
[6] Vencheh, A.H. and Mohamadghasemi, A. (2001) A fuzzy AHP-DEA approach for multi-criteria ABC inventory classification. Expert System with Applications, pp. 3346-3352.
[7] ชมพูนุท เกษมเศรษฐ์. (2559) ทฤษฎีการจัดการพัสดุคงคลังและการประยุกต์ใช้สำหรับตัวแบบพัสดุคงคลังดีเทอมินิสติคแบบต่อเนื่อง, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[8] Kasemset, C. and Pintaruean, E. (2017) Application of Job Sequencing Policies in Refrigerated Truck Sequencing: A Case Study. Proceeding of 2017 International Conference on Industrial Engineering Management Science and Application (ICIMSA), pp. 145-149

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-06

How to Cite

[1]
T. Phongthiya, P. Tharakhum, และ C. Kasemset, “การประยุกต์ใช้เทคนิคการตัดสินใจสองระดับเพื่อการจัดการระบบสินค้าคงคลังและการขนส่งสินค้า กรณีศึกษาร้านขายส่ง จังหวัดเชียงใหม่”, TJOR, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 36–46, ส.ค. 2021.