ตัวแบบการจัดตารางเวรของเภสัชกรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของภาระงาน

ผู้แต่ง

  • ปริวัฒณ์ อารีชาติ -
  • สราวุธ จันทร์สุวรรณ
  • ศิวิกา ดุษฎีโหนด
  • อัครนันท์ พงศธรวิวัฒน์

คำสำคัญ:

ตัวแบบการตัดสินใจ, Open Solver, Gini Index, Gini mean difference

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้นำเสนอการสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ สำหรับการจัดตารางการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของเภสัชกร โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เภสัชกรแต่ละคนมีจำนวนงานและประเภทของงานที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด โดยจำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลกำหนด  งานแต่ละประเภทมีน้ำหนักที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับค่าความอยากปฏิบัติงานนั้น  ผู้วิจัยสร้างสองตัวแบบซึ่งมีฟังก์ชันจุดประสงค์ 2 คือ Mean squared error และ Gini mean difference  ในทางเศรษฐศาสตร์ ความเหลื่อมล้ำสามารถวัดจากค่า Gini Index ที่คำนวณจากการสร้าง Lorenz curve  การหาคำตอบของตัวแบบทำโดย Open Solver  ซึ่งเป็นโปรแกรมส่วนเพิ่มจาก Microsoft excel  จากนั้นจึงเปรียบเทียบความไม่เท่าเทียมกันของแต่ละคนด้วยการคำนวณค่า Gini Index และเปรียบเทียบกับการจัดแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า การกำหนดฟังก์ชันจุดประสงค์ด้วย Gini mean difference และ mean squared error และการจัดตารางแบบเดิม ให้ค่า Gini Index เท่ากับ 5.27, 7.03 และ 11.58 ตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า ตัวแบบที่ใช้ฟังก์ชันจุดประสงค์ด้วย Gini mean difference สามารถสร้างรูปแบบการตัดสินใจที่มีความไม่เท่าเทียมกันน้อยที่สุด

References

กรีฑา เอี่ยมสกุล, สมบัติ พันธวิศิษฏ์, จรินทร์ เทศวานิช และ สมศักดิ์ เพรียบพร้อม, “การวิเคราะห์การกระจายการถือครองที่ดินในภาคเกษตรกรรมของไทย,” วารสารศรีนรินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา, ปีที่ 8, ฉบับที่ 15, หน้า 1-18, 2559.

โยธิญา โยธี และ รตี โบจรัส, “การสร้างแบบจำลองตารางงานของพยาบาลด้วยกำหนดการเชิงจำนวนเต็มกรณีศึกษา: โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์,” วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, หน้า 20-29, กรกฎาคม-ธันวาคม, 2562.

พรไพบูลย์ ปุษปาคม, “การจัดตารางการทำงานของพนักงานอำนวยความสะดวกในรีสอร์ท,” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปีที่ 12, ฉบับที่ 2, หน้า 37-42, กรกฎาคม-ธันวาคม, 2556.

โกลัญญา ชูแก้ว, “การจัดตารางการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคนิคเพื่อจัดสมดุลภาระงานของผู้สอนโดยวิธีการโปรแกรมเชิงคณิตศาตร์และวิธีฮิวริสติก,” วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ, 2561.

พงศ์กร จันทราชและ สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ, “การวิเคราะห์การกระจายการถือครองทีดินของเกษตรกรด้วยเส้นโค้งลอเรนซ์และสัมประสิทธิจีนี,” วารสารวิชาการปทุมวัน, ปีที่ 11, ฉบับที่ 31, หน้า 47-61, พฤษภาคม - สิงหาคม, 2564.

P. Cerone and S.S. Dragomir. “Bounds for the Gini mean difference of an empirical distribution,” Applied Mathematics Letters, 19, 283-289, 2006.

วรรณศิลป์ พีรพันธุ์. (2564, กันยายน 3). การวัดความสม่ำเสมอหรือความสอดคล้องของการกระจายตัวในพื้นที่ [Online]. แหล่งที่มา:http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~pwannasi /Lorenz.pdf

วริฤฐา บุญทนาวงศ์, “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทย,” การค้นคว้าอิสระ ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2562.

Jasso Guillermina. “On Gini’s Mean Difference and Gini’s Index of Concentration,” American Sociological Review. vol. 44, no. 5, [American Sociological Association, Sage Publications, Inc.]. pp. 867–70. 1979.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18

How to Cite

[1]
อารีชาติ ป., จันทร์สุวรรณ ส., ดุษฎีโหนด ศ., และ พงศธรวิวัฒน์ อ., “ตัวแบบการจัดตารางเวรของเภสัชกรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของภาระงาน”, TJOR, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 103–112, มิ.ย. 2022.