การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนรถจักรยานยนต์ สำหรับใช้บริการรับ – ส่งผู้โดยสารสาธารณะ
คำสำคัญ:
ต้นทุนผลกระทบภายนอก, ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ, รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, รถจักรยานยนต์รับจ้าง, หลักเกณฑ์การตัดสินใจลงทุนบทคัดย่อ
ในปัจจุบันผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเผชิญกับความท้าทายจากการผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน อีกทั้งการใช้รถจักรยานยนต์แบบใช้น้ำมันเชื้อเพลิงยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม บทความวิจัยนี้จึงประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางที่เหมาะสมและวิเคราะห์ความคุ้มค่าสำหรับการตัดสินใจเลือกระหว่างรถจักรยานยนต์แบบใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ในการให้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สำหรับการประเมินต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ทั้ง 2 ประเภทตลอดอายุการใช้งาน 10 ปี จะคำนึงถึงต้นทุนการดำเนินงานและต้นทุนผลกระทบภายนอกจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนด้วยการประเมินระยะคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และการวิเคราะห์ความไวตลอดอายุการใช้งานรถจักรยานยนต์ในการให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง จากการศึกษาพบว่า การใช้รถจักรยานยนต์ในการขับขี่รับ-ส่งผู้โดยสารตามเส้นทางที่เหมาะสมสามารถลดต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากเดิมได้ถึงร้อยละ 12.58 ต่อปี ในขณะที่การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่นั้นมีระยะคืนทุนที่นานกว่ารถจักรยานยนต์แบบใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่มีความคุ้มค่ากว่าในระยะยาวด้วยต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของที่ต่ำและให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตมากกว่า 34,089.45 บาท ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในรถจักรยานยนต์รับจ้างในอนาคต
References
สุวรรณี อัศวกุลชัย, “การประยุกต์ใช้ไดจ์คสตร้าอัลกอริทึมกับเส้นทางจราจรเพื่อหาเส้นทางที่สั้นที่สุด,” สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย., ปีที่ 6 , ฉบับที่ 1, น. 5-14, 2560.
คธายุทธ ก๋ามะโน และ มนวิภา อาวิพันธุ์, “การจัดเส้นทางขนส่งสำหรับปัญหาการรับและส่งมอบในระบบจักรยานเช่าสาธารณะ: กรณีศึกษาระบบจักรยานเช่าสาธารณะ จังหวัดเชียงใหม่,” วิศวสารลาดกระบัง., ปีที่ 39, ฉบับที่ 1, น. 91-105, 2565.
R. Chen, “Dijkstra’s Shortest Path Algorithm and Its Application on Bus Routing,” in International Conference on Urban Planning and Regional Economy (UPRE 2022), China, 2022.
Jason, M. Siever, A. Valentino, K.M. Suryaningrum and R. Yunanda, “Dijkstra’s algorithm to find the nearest vaccine location,” in the 7th International Conference on Computer Science and Computational Intelligence 2022, Indonesia, 2023.
A. Ray, H. Sharma and D. Sharma, “Analysis and design of public transport route planner: Dijkstra’s algorithm,” International Journal for Research in Applied Science and Engineering Technology (IJRASET)., vol. 10, no. 6, pp. 4751-4755, 2022.
วาฎิกาณ์ ไพศาลธยางกูล, “การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการเดินเรือคลองแสนแสบส่วนต่อขยายจากวัดศรีบุญเรืองถึงสำนักงานเขตมีนบุรี,” เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 2561.
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, สิทธา เจนศิริศักดิ์ และ จิรวรรณ คล้ายลี, “การประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี,” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11, นครศรีธรรมราช, 2562.
ภูเบศ ตรีราภี, “การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของผู้บริโภคทางด้านการเงินและเศรษฐกิจในการเลือกใช้รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า,”เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 2563.
P. Suwignyo, M. N. Yuniarto, Y. U. Nugraha, A. F. Desanti, I. Sidharta and S. E. Wiratno, “Benefits of electric motorcycle in improving personal sustainable economy: a view from Indonesia online ride-hailing rider,”International Journal of Technology., vol. 14, no. 1, pp.38-53, 2023.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, “สถานการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงาน ปี 2565,” กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, 2565.
S. M. Afraah, Y. Yuniaristanto, W. Sutopo and M. Hisjam, “Comparing total cost of ownership of electric and conventional motorcycles in Indonesia,” Jurnal Teknik Industri., vol. 22, no. 2, pp. 196-210, 2021.
ภูรี สิรสุนทร และ เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ, “การวิเคราะห์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของรถแท็กซี่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่รถยนต์พลังงานสะอาด (Zero Emission Vehicles) อย่างยั่งยืน,” วารสารเศรษศาสตร์และนโยบายสาธารณะ., ปีที่ 13, ฉบับที่ 26, น. 21-44, 2565.
บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย, พรพิมล วิญญูชาคริต, ปิติ ปิตา, เปมิกา มิศาลา และ สุกัญญา ก้านบัว, “โครงการศึกษาแนวทางการกําหนดค่าอัตราคิดลด (Discount Rate) ที่เหมาะสมสําหรับใช้ในการประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับมาตรการ,” กรุงเทพมหานคร:สํานักงานศูนย์วิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, “ECO Sticker for MOTORCYCLE,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://motorcycle.go.th/. [วันที่เข้าถึง 30 กันยายน2566].
วันวิภา ปานศุภวัชร และ อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง, “การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนและความอ่อนไหวของโครงการลงทุนผลิตภัณฑ์กาแฟในจังหวัดน่าน,” วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา., ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, น. 51-64, 2565.
ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์, ประภาพร กิจดำรงธรรม, จิรายุ หาญตระกูล, สัตยา ตันจันทร์พงศ์, และ จำเนียร บุญมาก, “การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนของการเลี้ยงไก่กระดูกดำ ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง., ปีที่ 12, ฉบับที่ 1, น. 24-36, 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.