แบบจำลองกำหนดการเชิงจำนวนเต็มสำหรับการวางแผนการปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีรอบการเก็บเกี่ยวครั้งเดียวและหลายครั้งในฤดูแล้ง
คำสำคัญ:
แบบจำลองกำหนดการเชิงจำนวนเต็ม, พืชเศรษฐกิจ, ฤดูแล้ง, การวางแผนการเกษตร, ผลตอบแทนการลงทุนบทคัดย่อ
ในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรมักประสบปัญหาสำคัญในการเลือกพืชเพาะปลูก เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด พืชที่นิยมปลูกมักเป็นพืชเศรษฐกิจระยะสั้น ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งแบบครั้งเดียวหรือหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม พืชแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวางแผนการเพาะปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้รับผลกำไรสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดของน้ำ งบประมาณ และระยะเวลา งานวิจัยนี้จะนำเสนอแบบจำลองกำหนดการเชิงจำนวนเต็มสำหรับการวางแผนเพาะปลูกพืชอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น พื้นที่เพาะปลูก งบประมาณที่จำกัด ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลกำไรสูงสุด แบบจำลองนี้ได้ทดสอบผลลัพธ์โดยใช้ข้อมูลจริงจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านลุงเขียน สร้อยสม จังหวัดเพชรบุรี และใช้ภาษาไพทอน (Python) ร่วมกับโปรแกรม Gurobi Optimization Package ซึ่งผลการทดสอบแบบจำลองโดยการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของงบประมาณระหว่าง 75,000 - 275,000 บาท และปริมาณน้ำระหว่าง 3,500 - 5,000 ลูกบาศก์เมตร พบว่า งบประมาณที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเพาะปลูกพืชคือ 250,000 บาท ส่งผลให้ได้กำไรสูงสุด นอกจากนี้ การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน ยังชี้ให้เห็นว่า งบประมาณ 100,000 บาท และปริมาณน้ำ 5,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด โดยสามารถทำกำไรได้ร้อยละ 132.37 จากผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนและการจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการวางแผนที่ดีภายใต้ข้อจำกัดของน้ำ พื้นที่ งบประมาณ และระยะเวลาเก็บเกี่ยว จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลกำไรจากการเพาะปลูกได้
References
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า, “รมช.พณ. เผยสถิติการส่งออกสินค้าเกษตรไทย พร้อมแนะทุกภาคส่วนช่วยกันดูแลภาคเกษตร,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://tpso.go.th/news/2402-0000000014. [วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2567].
กรมอุตุนิยมวิทยา, “ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทย (มม.) ในคาบ 30 ปี,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://tmd.go.th/ClimateChart/
monthly-mean-rainfall-in-thailand-mm-30-years?fbclid=IwAR3ufucR5s_l5BuLeZeW0LOpMEMfQkt0-Vtle3o7R3eo6N9K5KFKdcRDbEk. [วันที่เข้าถึง 22 ธันวาคม 2566].
J. Veintimilla-Reyes, D. Cattrysse, A. D. Meyer and J. V. Orshoven, “Mixed integer linear programming (MILP) approach to deal with spatio-temporal water allocation,” Procedia engineering., vol. 162, pp. 221-229, 2016.
พหล ศักดิ์คะทัศน์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, และกังสดาล กนกหงษ์, “การจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้งของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่,” วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร., ปีที่ 39, ฉบับที่ 3, น. 169-179, 2565.
D. K. Singh, C. S. Jaiswal, K. S. Reddy, R. M. Singh, and D. M. Bhandarkar, “Optimal cropping pattern in a canal command area,” Agricultural Water Management., vol. 50, no. 1, pp. 1-8, 2001.
พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี, “การประยุกต์ใช้ Linear Programming สำหรับการวางแผนการผลิตทางการเกษตรและติดตามผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง,” วารสารสุทธิปริทัศน์., ปีที่ 26, ฉบับที่ 78, น. 19-36, 2555.
M. Sakellariou-Makrantonaki, C. Tzimopoulos, and V. Giouvanis, “Linear programming application for irrigation network management–implementation in the irrigation network region of Pinios (Central Greece),” Irrigation and Drainage., vol. 65, no. 4, pp. 514-521, 2016.
N. Hj. Mohamad and F. Said, “A mathematical programming approach to crop mix problem,” Advances in Food Science and Technology., vol. 7, no. 4, pp. 1-7, 2019.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.