การกำหนดขนาดออเดอร์และออกแบบลำดับการหยิบที่เหมาะสมต่อการลดระยะทางการหยิบสินค้าในคลังสินค้า
คำสำคัญ:
การปรับปรุงตำแหน่งจัดเก็บสินค้า, การกำหนดขนาดออเดอร์, การออกแบบลำดับการหยิบสินค้า, การประยุกต์คณิตศาสตร์เชิงเส้น, การประยุกต์ใช้วิธีทางพันธุกรรมบทคัดย่อ
กรณีศึกษาเป็นบริษัทนำเข้าส่งออกเนื้อสัตว์แช่แข็งที่มีลักษณะการหยิบสินค้าเพื่อจัดส่งแบบพาเลท โดยจะหยิบเป็นรอบตามจำนวนความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันกรณีศึกษาทำการหยิบทีละพาเลทจนครบตามจำนวนที่ต้องการ ส่งผลให้มีระยะทางที่มากเกินความจำเป็น ดังนั้นการออกแบบการหยิบแบบแบต (Batch) และการออกแบบลำดับการหยิบจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวงานวิจัยฉบับนี้ได้ออกแบบการปรับปรุงคลังสินค้า 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1). การปรับปรุงตำแหน่งจัดเก็บสินค้าซึ่งในการวิจัยนี้จะใช้ 2 วิธีในการออกแบบผังคลังสินค้าใหม่ประกอบด้วย การออกแบบผังด้วยเทคนิค Class-based layout และการประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เชิงเส้น ผลจากการวิเคราะห์พบว่า การจัดตำแหน่งการวางสินค้าด้วยการประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เชิงเส้น ช่วยลดระยะทางในการเดินหยิบสินค้าได้สูงสุดประมาณร้อยละ 30 2). หลังจากได้ตัวแบบผังที่เหมาะสมแล้ว ทางผู้วิจัยได้ทำการออกแบบรูปแบบการหยิบแบบแบต (Batch) และลำดับการหยิบเพื่อลดระยะทางในการหยิบสินค้าและทดสอบความไวของผังจัดวางที่ออกแบบไว้ในขั้นตอนที่สอง ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เพื่อออกแบบแบต (Batch) และลำดับการหยิบสินค้าใหม่ด้วยการประยุกต์สองเทคนิค คือ วิธี Roulette Wheel Simulation และวิธีการเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) ผลจากการทดสอบพบว่า การจัดลำดับการหยิบใหม่ที่มีขนาดออเดอร์เท่ากับ 6 SKUs สามารถลดระยะทางในการเดินหยิบสินค้าได้สูงสุดประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับการเดินหยิบตามรายการสินค้ารูปแบบเดิม
References
J. J. Bartholdi and S. T. Hackman, Warehouse & Distribution Science: Release 0.89 (p. 13), Atlanta: Supply Chain and Logistics Institute, 2008.
A. Suthipongkeat, A. Pongsathornwiwat and N. Intalar, “Designing of optimal warehouse layout and storage location assignment : A case study of an import-export frozen butcher warehouse,” ASIT J., vol. 8, no. 2, pp. 69–91, 2023. [in Thai]
ขนิษฐา เลาหวิชิตศักดิ์ และ อัครนันท์ พงศธรวิวัฒน์, “การประยุกต์ใช้ตัวแบบสองขั้นตอนสำหรับการจัดกลุ่มและระบุตำแหน่งการวางสินค้าภายในคลังสินค้า กรณีสินค้ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มผลิตภัณฑ์,” วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน., ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, น. 92-105, 2564.
ณัฐปรียา ฉลาดแย้ม, ประกายการณ์ ชูศร และ ยุภาพร ตงประสิทธิ์, “การวิเคราะห์แบบเอบีซี ABC Analysis,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/02_15_.pdf.
ณัฐวดี ปัญญาพานิช และ สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์, “การประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการหยิบสินค้า.” จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์., ปีที่ 37, ฉบับที่ 144, น. 24-50, 2558.
วนัฐฌพงษ์ คงแก้ว และ ศิวศิษย์ วิทยศิลป์, การวิจัยดำเนินงาน: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้, สงขลา: ไอคิว มีเดีย, 2564.
สุนันทา อนันต์ชัยทรัพย์ และ ชุมพล มณฑาทิพย์กุล, “การปรับปรุงการจัดวางตำแหน่งสินค้าภายในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ โคราช จำกัด,” วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, น. 11-24, 2564.
ระพีพันธ์ ปิตาคะโส, วิธีการเมตาฮิวริสติกเพื่อแก้ไขปัญหาการวางแผนการผลิตและการจัดการโลจิสติกส์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2554.
C. G. Peterson and G. Aase, “A comparison of picking, storage, and routing policies in manual order picking. Economics,” International Journal of Production Economics., vol. 92, no. 1, pp. 11-19, 2004.
โสภณ สุขสวัสดิ์, “การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า: กรณีศึกษาบริษัทผลิตยางผสม (RUBBER COMPOUND),” วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, 2557.
พลอยไพลิน ภูมิโคกรักษ์, “การพัฒนาระบบการจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง,” วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.