การจัดสรรพนักงานในกระบวนการจัดซื้อด้วยวิธีจาลองสถานการณ์และการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล

Main Article Content

Vason Techamaitrechit
Seeronk Prichanont

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย กาลังอยู่ในภาวะการแข่งขันที่สูงมาก หน่วยงานจัดซื้อซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนจึงมีบทบาทสาคัญในการจัดหาทรัพยากร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้า โดยหน่วยงานจัดซื้อของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยที่กาลังประสบปัญหาในการจัดสรรพนักงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร ได้ถูกเลือกเพื่อนามาเป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ ในธนาคารแห่งนี้ หน่วยงานจัดซื้อถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเพื่อทาการจัดซื้อสินค้าที่รูปแบบแตกต่างกันได้แก่ กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มจัดจ้าง และกลุ่มทั่วไป ซึ่งขณะนี้หน่วยงานกาลังประสบปัญหาอัตรางานล่าช้าที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ความผันผวนของความต้องการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดสรรพนักงานรายไตรมาสได้ถูกจัดทาขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบของความผันผวนและลดอัตรางานล่าช้าของหน่วยงานลง การสร้างแบบจาลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม ARENA ได้ถูกนามาใช้เพื่อประเมินแผนการจัดสรรพนักงาน โดยผลลัพธ์จากแบบจาลองจะถูกเก็บและนาไปใช้ประเมินแผนการจัดสรรพนักงานด้วยการวิเคราะการล้อมกรอบข้อมูล โดยแบบจาลอง BCC และ MCDEA ได้ถูกนามาใช้ เพื่อประเมินทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผลจากแบบจาลองพบว่าการจัดสรรพนักงานที่เหมาะสมสามารถช่วยปรับภาระงานของพนักงานให้มีความสมดุลกันระหว่างแผนก ซึ่งส่งผลให้ช่วยลดเวลาในการทางาน และปริมาณงานล่าช้าลงได้ โดนแบบการจัดสรรพนักงานทั้งหมดถูกประเมินด้วยการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล โดยแบบจาลอง BCC ที่มีความสามารถในการคัดแยกต่ากว่าไม่สามารถจาแนกประสิทธิภาพของแผนจัดสรรพนักงานได้ โดยประเมินว่า 7 จาก 9 แผนการจัดสรรพนักงานมีประสิทธิภาพ ในขณะที่แบบจาลอง MCDEAที่มีความสามารถในการคัดแยกสูงกว่าประเมินให้เพียง 2 แผนจัดสรรพนักงานเท่านั้นเป็นแผนการจัดสรรที่มีประสิทธิภาพ โดยท้ายที่สุดแล้ว แผนการจัดสรรพนักงานที่มีประสิทธิภาพนี้สามารถช่วยลดปริมาณงานล่าช้าในหน่วยงานจัดซื้อได้ถึง 2.6% โดยไม่ต้องเพิ่มพนักงาน

Article Details

How to Cite
Techamaitrechit, V., & Prichanont, S. (2018). การจัดสรรพนักงานในกระบวนการจัดซื้อด้วยวิธีจาลองสถานการณ์และการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 4(2), 35–42. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/176713
บท
Research and Review Article

References

[1] Ruzanita Mat Rani et al, Determining the Optimal Operator Allocation in SME’s Food Manufacturing Company Using Computer Simulation and Data Envelopment Analysis, Statistic and Operational Research International Conference (SORIC), 1613,102-112 (2014)

[2] Egilmez G. et al., Stochastic skill-based manpower allocation in a cellular manufacturing system, Journal of Manufacturing Systems, 41,193-198 (2014)

[3] Watanabe S. P. et al., Internal Staff Allocation and the Changing Workload of Japanese Professoriate: A Multilevel Statistical Analysis with Simulations, University of California Berkeley,1.13, 1-10 (2013)

[4] Azadeh A. et al., An integrated fuzzy DEA–Fuzzy simulation approach for optimization of operator allocation with learning effects in multi products CMS, Applied Mathematical Modelling, 37, 9922-9933 (2013)

[5] Oh, C. et al., Use of a simulation-based decision support tool to improve emergency department throughput., Operations Research for Health Care, 9, 29-39, (2016)

[6] Azadeh A. and M. Anvari, Implementation of multivariate methods as decision making models for optimization of operator allocation by computer simulation in CMS, SIMULATION SERIES, 26:4, 316-325 (2016)

[7] Ertay T. and D. Ruan, Data envelopment analysis based decision model for optimal operator allocation in CMS, European journal of operational research, 164, 800-810 (2005)

[8] Rani R. M. et al., Determining the optimal operator allocation using a three-phase methodology, Proceedings of the Universiti Kebangsaan Malaysia, 1614, 851-858 (2014)

[9] Azadeh A., et al., An integrated fuzzy DEA–fuzzy C-means–simulation for optimization of operator allocation in cellular manufacturing systems, Applied Mathematical Modelling, 46, 361-375 (2013)