Information For Authors

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย                

     วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย ยินดีรับบทความที่มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวข้องในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ทุกแขนง โดยทุกบทความจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน ผู้ส่งบทความจะต้องยึดรูปแบบตามคำแนะนำนี้อย่างเคร่งครัด บทความใดที่มีรูปแบบไม่ถูกต้อง ทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิในการที่จะไม่รับพิจารณาตีพิมพ์

1. ประเภทของบทความที่ตีพิมพ์

     1.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานที่เตรียมจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองโดยมีการนำเสนอ ความเป็นมา ระเบียบวิธีวิจัย ผลสรุป และข้อเสนอแนะ

     1.2 บทความวิชาการ (Academic Article)   แบ่งออกเป็น

          บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่เรียบเรียงจากการตรวจเอกสารวิชาการในสาขานั้น ๆ เป็นการนำเสนอเนื้อหาเชิงวิชาการเชิงสังเคราะห์ ด้วยการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ สรุปประเด็น วิจารณ์ และเสนอแนะ

          บทความวิชาการทั่วไป (General Academic Article) เป็นการนำเสนอความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ของผู้เขียน บทความทีลักษณะเป็นการเรียบเรียงข้อมูลและการเสนอความคิดเห็น โดยบทความวิชาการทั่วไปอาจรวมถึงบทวิจารณ์เชิงวิชาการและบทความเชิงเทคนิคด้วย

 

Full_Paper_Template_IENJ_Eng (ภาษาอังกฤษ_ไฟล์ .doc)

Full_Paper_Template_IENJ_Eng (ภาษาอังกฤษ_ไฟล์ .pdf)

Full_Paper_Template_IENJ_Thai (ภาษาไทย_ไฟล์ .doc)

Full_Paper_Template_IENJ_Thai (ภาษาไทย_ไฟล์ .pdf)

ส่งบทความผ่านระบบ Thai Journal Online (ThaiJO)

 

2. การเตรียมต้นฉบับ

     2.1 รูปแบบการพิมพ์บทความ ผู้เขียนสามารถจัดเตรียมต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทความภาษาอังกฤษจะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย โดยเนื้อหาของบทความให้ใช้แบบอักษร Browallia New ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขนาดและรูปแบบให้เป็นไปตามตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 ลักษณะและขนาดของตัวอักษรที่กำหนดให้ใช้ในการเขียนบทความ

รายการ

แบบอักษรและขนาด

การจัดตำแหน่ง

ลักษณะตัวอักษร

ชื่อเรื่อง

Browallia New 16 pt

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ชื่อและที่อยู่ผู้เขียน

Browallia New 12 pt

กึ่งกลาง

ตัวหนา

หัวข้อ

Browallia New 12 pt

ชิดซ้าย

ตัวหนา

เนื้อเรื่อง

Browallia New 12 pt

กระจายแบบไทย

ตัวธรรมดา

คำบรรยายประกอบรูป

Browallia New 11 pt

กึ่งกลางโดยอยู่ใต้รูป

ตัวเอน

ชื่อตาราง

Browallia New 11 pt

ชิดซ้ายโดยอยู่เหนือตาราง

ตัวเอน

หัวข้อของเอกสารอ้างอิง

Browallia New 12 pt

ชิดซ้าย

ตัวธรรมดา

 

      การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลัก ของราชบัณฑิตยสถาน โดยให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความการเขียนภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายศัพท์ทางเทคนิคให้เขียนในวงเล็บต่อท้ายคำ ศัพท์นั้น ๆ โดยอธิบายเพียงครั้งแรกที่ศัพท์นั้นปรากฏในบทความภาษาอังกฤษต้องขึ้นต้นด้วย ตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำบทความที่เสนอจะต้องพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ (Word Processor) หรือลาเท็กซ์ (Latex) โดยยึดรูปแบบการพิมพ์ตามที่ได้ระบุไว้ในเอกสารนี้บทความควรมีความยาวรวม 10-12 หน้า

     2.2 รูปแบบการตั้งค่าหน้ากระดาษ กำหนดให้ใช้กระดาษขนาด B5 (JIS)  แบบ 2 คอลัมน์ การตั้งค่าหน้ากระดาษ และรูปแบบการพิมพ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน ตารางที่ 2

 

 ตารางที่ 2 การตั้งค่าหน้ากระดาษ

ขอบกระดาษ

ระยะขอบ (เซนติเมตร)

ขอบบน (Top)

3

ขอบล่าง (Bottom)

2

ขอบซ้าย (Left)

2.25

ขอบขวา (Right)

2.25

ระยะระหว่างคอลัมน์ (Column Spacing)

0.8

 

      การพิมพ์จะไม่มีการเว้นบรรทัด เว้นแต่หากต้องการขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้นหนึ่งบรรทัดหรือการแทรกตารางหรือรูปภาพก็ให้มีการเว้นหนึ่งบรรทัดก่อนแทรกตารางหรือรูปภาพและเว้นอีกหนึ่งบรรทัด ก่อนจะขึ้นย่อหน้าใหม่หลังการแทรกตารางหรือรูปภาพดังกล่าว

     2.3 รูปแบบการใส่ชื่อตาราง  กำหนดให้อยู่ชิดด้านซ้ายเหนือตาราง  ไม่ต้องเว้นบบรรทัด  ใช้ตัวหนังสือ   Browallia New    ขนาด 11 pt แบบเอน

     2.4 รูปแบบการใส่คำบรรยายประกอบรูป กำหนดให้อยู่ใต้รูปภาพ ตำแหน่งกึ่งกลางของคอลัมน์ และเว้นบบรรทัด 1 บรรทัดระหว่างรูปและคำบรรยาย ใช้ตัวหนังสือ Browallia New ขนาด 11 pt แบบเอน

การลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่องให้ใช้เลขกำกับบทนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 และหากมีหัวข้อย่อยให้ใช้เลขระบบทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1 เป็นต้น

 

3. การเรียงลำดับเนื้อหา

บทความควรจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

     3.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรกะทัดรัดไม่ยาวจนเกินไป ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ

     3.2 ชื่อผู้เขียนและที่อยู่ (Authors and Address) ให้ระบุชื่อเต็มและนามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคน ทั้งบทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านามหรือตำแหน่งทางวิชาการใด ๆ   แล้วจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษเช่นเดียวกับสถานที่ทำงานของผู้เขียน ทั้งนี้ชื่อและนามสกุลจะอยู่ใต้ชื่อเรื่องถัดลงมาสองบรรทัด ส่วนสถานที่ทำงานจะอยู่ในบรรทัดถัดจากชื่อและนามสกุล โดยต้องระบุรายละเอียดที่ผู้อ่านสามารถติดต่อสอบถามได้หากต้องการรายละเอียด เพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบทความ

            ชื่อ นามสกุล และสถานที่ติดต่อของผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding Author)  ต้องมีการใส่เครื่องหมาย * ไว้ด้านท้ายเหนือชื่อ โดยวางไว้หลังเลขลำดับที่ของผู้เขียน และด้านหน้าเหนือชื่อสถานที่ติดต่อของผู้เขียนดังตัวอย่างด้านล่างนี้

 

                                             ประจวบ กล่อมจิตร1* เดชฤทธิ์ สอนสุระ2 และชัยพร วราวฒุิ3

                           1,2,3 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

                                     มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.ราชมรรคาใน อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 

                                            E-mail: prachuab.12326@gmail.com1*        

                                             E-mail: Abooo12345@gmail.com2 

                                              E-mail: ppoofoo1@gmail.com3

                                                              รูปที่ 1 ตัวอย่างการเขียนชื่อและที่อยู่ผู้เขียน

 

     3.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษความยาวไม่เกินอย่างละ 15 บรรทัดและควรเป็นบทคัดย่อที่สั้น ตรงประเด็น และให้สาระสำคัญเท่านั้น โดยจำกัดความยาวให้มีเพียง 1 ย่อหน้าและไม่ควรเขียนบทคัดย่อตามแบบที่เขียนในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

     3.4 คำสำคัญ (Keywords) กำหนดคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปทำคำค้นในฐานข้อมูล ควรใช้คำที่เอื้อต่อการที่จะถูกค้นพบโดยนักวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ให้ระบุคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษาอย่างละ ไม่เกิน 5 คำ

     3.5 บทนำ (Introduction) อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของงานวิจัย และข้อมูลทางวิชาการที่มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)

     3.6 วิธีการวิจัย (Methodology) อธิบายกระบวนการวิจัย โดยระบุรายละเอียดของวิธีการศึกษา สิ่งที่นำมาศึกษา ตลอดจนเครื่องมือ อุปกรณ์ แบบแผนการวิจัย การเลือกตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในบางครั้งที่ต้องมีการอ้างถึงสมการควรเขียนด้วยฟังก์ชั่นในการเขียนสมการในโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ เช่น Math Type หรือเครื่องมือสมการอื่น ๆ สมการทุกสมการจะต้องมีหมายเลขที่อยู่ในวงเล็บกำกับและเรียงตามลำดับ หมายเลขสมการต้องอยู่ชิดขอบขวาของคอลัมน์ ดังแสดงในสมการที่ 1

 

         (1)

 

      เพื่อความสวยงามในการจัดพิมพ์ ผู้เขียนควรเว้นบรรทัดก่อนเขียนสมการ 1 บรรทัด และหลังจากเขียนสมการแล้วอีก 1 บรรทัด

     3.7 ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจนและตรงประเด็นตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจแสดงผลการวิจัยโดยใช้ รูป กราฟ แผนภูมิ หรือตารางตามสมควร

          3.7.1 ข้อกำหนดเกี่ยวกับรูป รูปจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 13 เซนติเมตร กรณีที่เป็นภาพใหญ่จะลงเต็มหน้ากระดาษทางขวาง (Landscape) ก็ได้ โดยให้จัดรูปแบบให้เหมาะสมรูปกราฟหรือแผนภูมิต่าง ๆ ควรวาดด้วยลายเส้นคมชัดบนพื้นที่สีขาว รูปถ่ายต้องเป็นรูปจริงและควรเป็นรูปขาวดำเท่านั้น รูปประกอบแต่ละรูปจะต้องมีหมายเลขกำกับและมีคำบรรยายประกอบที่มีความยาวไม่ เกิน 2 บรรทัด โดยให้จัดกึ่งกลางขณะแทรกรูปในเนื้อหา หากในรูปมีตัวอักษร ขนาดของอักษรต้องมีขนาดที่อ่านได้และไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดอักษรที่เป็น เนื้อเรื่อง (12 pt) ดังแสดงในรูปที่ 2

 

           รูปที่ 2  ตัวอย่างรูปประกอบบทความ  [1]

           3.7.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับตาราง ตาราง จะต้องมีความกว้างไม่เกิน 13 เซนติเมตร ขนาดของตัวเลขและตัวอักษรในตารางไม่ควรเล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง ตารางแต่ละตารางจะต้องมีหลายเลขกำกับและมีคำบรรยายตารางความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด วางไว้ชิดขอบซ้ายเหนือตารางนั้น ๆ

     3.8 การอภิปรายผลหรือการวิจารณ์และสรุป (Discussion and Conclusion) เป็นการชี้แจงผลวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานการวิจัย สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นส่วนของการอภิปรายผลควรจะจบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผล งานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามวิจัยซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป ผู้เขียนอาจนำผลการวิจัยและการอภิปรายผลมาเขียนรวมในตอนเดียวกันได้

     3.9 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ระบุสั้น ๆ ว่างานนี้ได้รับทุนสนับสนุนและความช่วยเหลือจากองค์กรใดหรือผู้ใดบ้าง

 

4. เอกสารอ้างอิง (References)

     4.1 เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องจะใช้การอ้างอิงในระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver Style) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานคือเมื่อเมื่อนำผลงานของบุคคลอื่นมาอ้างอิงในบทความให้ ใส่ตัวเลขกำกับที่ท้ายข้อความนั้น เรียงตามลำดับ 1, 2, 3... โดยใช้ตัวเลขอารบิค อยู่ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] แล้วรวบรวมเป็นเอกสารอ้างอิงในหัวข้อสุดท้ายของบทความ  รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความที่สำคัญประกอบด้วย 

 

          4.1.1  การอ้างอิงบทความจากวารสารวิชาการ 

 

รูปแบบ :

            ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่พิมพ์; เล่มที่: หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบทความ.

 

ตัวอย่าง :

[1]  ประจวบ กล่อมจิตร. รูปแบบของบทความที่เสนอร่วมการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยศิลปากร. การประชุมข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 2558.

[2] Ketabi A, Farshadnia, Malekpour M, Feuillet R. A new control strategy for active power line conditioner (APLC) using adaptive notch filter. International Journal of Electrical Power & Energy Systems. 2013; 47: 31-40.

 

          4.1.2  การอ้างอิงจากหนังสือหรือตำรา 

 

รูปแบบ :

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์.

 

ตัวอย่าง :

[3]  ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. วิธีการเมตาฮิวรีสติกส์เพื่อแก้ไขปัญหาการวางแผนการผลิตและการจัดการโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2554. 

[4]  Jonsson, Patrik. Logistics and Supply Chain Management. Glasglow: McGraw-Hill; 2008.

 

           4.1.3 การอ้างอิงจากเอกสารสืบเนื่องในการประชุมวิชาการ 

 

รูปแบบ :

ชื่อ ผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง.  ใน ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ.  ชื่อการประชุมวิชาการ; วัน เดือน ปี ที่ประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้า เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

 

ตัวอย่าง :

[5]  เกียรติศักดิ์ พระเนตร. การแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งโรงงานเอทานอลจากวัตถุดิบเหลือใช้ในการผลิต แป้งมันสำปะหลัง.  เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี พ.ศ.2553; 13-15 ตุลาคม พ.ศ. 2553; โรงแรมสุนีย์แกรนด์โฮเต็ลแอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์. อุบลราชธานี; 2553. หน้า 231-238.

        

การระบุวันเดือนปีที่ประชุมในกรณีเป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติให้ ระบุเป็น ปี-เดือน-วัน เช่น 2012 December 2-5 เป็นต้น  ความแตกต่างอื่น ๆ ระหว่างการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ อาจพิจารณารูปแบบจากรายการอ้างอิงท้ายบทความนี้

 ตัวอย่าง :

[6] Nanthasamroeng N, Pitakaso R. A comparison of ILS and VNS heuristics for multi-stages and multiobjectives location routing problem. In Kachitvichyanukul V, Luong HT, Pitakaso R, editors. APIEMS 2012. Proceeding of the Asia Pacific Industrial Engineering & Management Systems Conference; 2012 December 2-5; Phuket, Thailand. 2012. p.1876-1885.

 

           4.1.4 การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ 

 

รูปแบบ :

ชื่อผู้แต่ง.ชื่อเรื่อง [ประเภทและระดับปริญญา]. เมืองที่พิมพ์; มหาวิทยาลัย; ปีที่ได้ปริญญา.

 

ตัวอย่าง :

 [7]  สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์. การฝังและการถอดลายน้ำดิจิตอลโดยวิธีการแปลงเวฟเล็ตแพกเกตส์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต].  กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2543.

 

          4.1.5 การอ้างอิงบทความจากอินเทอร์เน็ต 

 

รูปแบบ :

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง [อินเทอร์เน็ต]. ปีที่พิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ…]. เข้าถึงได้จาก: http://...................

 

ตัวอย่าง : 

[8]  จิราภรณ์ จันทร์จร. การเขียนเอกสารอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ19 ธันวาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก: http://library.md.chula.ac.th/guide/Vancouver2011.pdf

 

5. การส่งบทความ

     5.1 ผู้เขียนสามารถส่งบทความได้จากระบบ Thai Journal Online (ThaiJO) 

     5.2 ผู้เขียนสามารถส่งบทคัดย่อและบทความฉบับเต็ม ได้จาก   ส่งบทคัดย่อและบทความฉบับเต็ม

     5.2 ผู้เขียนสามารถส่งเป็นเอกสารพร้อมอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ (.doc หรือ .docx) และ (.pdf) อย่างละ 1 ไฟล์บันทึกลงในแผ่นซีดี จำนวน 1 แผ่นโดยส่งบทความต้นฉบับและแผ่นซีดีดังกล่าวมายังที่อยู่

 

กองบรรณาธิการวารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

เลขที่ 6  ถ.ราชมรรคาใน  ต.พระปฐมเจดีย์  อ.เมือง  จ.นครปฐม 73000

โทร 0-3421-9362   Fax. 0-3421-9362

 

บทความจะได้รับการตรวจรูปแบบโดยกองบรรณาธิการก่อน หากรูปแบบไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการอาจร้องขอให้ผู้เขียนทำการแก้ไขก่อนส่งกลับมาอีกครั้ง เมื่อบทความมีรูปแบบเป็นไปตามที่กำหนดแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งบทความดังกล่าวไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 2 ท่านต่อบทความ หากผลการพิจารณากลั่นกรองระบุให้มีการแก้ไข ผู้เขียนต้องดำเนินการตามข้อเสนอนั้น ๆ พร้อมระบุประเด็นที่แก้ไขแล้วส่งต้นฉบับบทความที่แก้ไขแล้วกลับมายังกองบรรณาธิการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด

 

ขั้นตอนการตีพิมพ์