ผลของการอบชุบด้วยกรรมวิธีทางความเย็นและกรรมวิธีการอบชุบภายใต้สภาวะแรงดันของสารชุบที่มีต่อการสึกหรอของแม่พิมพ์ตัด

Main Article Content

Manote Rithinyo
Kampanat Taysongnoen
Amornsak MayaI
Anuchit Khongrit
Phongsak Runkratok
Jittiwat Nithikarnjanatharn

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอของพันช์ทำจากเหล็กกล้าเครื่องมือ JIS SKD 11 ที่ผ่านกระบวนการอบชุบด้วยกรรมวิธีทางความเย็นและกรรมวิธีการอบชุบภายใต้สภาวะแรงดันของสารชุบ วัสดุปั้มตัดทำจากเหล็กคาร์บอน AISI 1020 ปั้มตัดชิ้นงานรูปร่างสี่เหลี่ยม ขนาด 10x10 mm. ความหนา 3 mm. ใช้ค่าช่องว่างระหว่างแม่พิมพ์ 5% ของความหนาชิ้นงาน ปั้มตัดชิ้นงานจำนวน 10,000 ชิ้นต่อกรรมวิธีการอบชุบ ในสภาพไม่ใช้สารหล่อเย็น วัดผลการศึกษาโดยการชั่งน้ำหนัก วัดระยะการสึกหรอ และวัดค่ารอยตัดเฉือนของชิ้นงาน (Shear band)
ผลของกรรมวิธีการอบชุบ พบว่า เหล็กกล้าเครื่องมือ JIS SKD 11 ที่ผ่านการอบชุบทางความเย็นมีโครงสร้างของโครเมียมคาร์ไบด์ที่มีขนาดเล็กกระจายตัวอย่างสม่าเสมอบนโครงสร้างของมาร์เทนไซต์ และมีโครงสร้างออสเทนไนต์ตกค้างขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ระหว่างโครงสร้างของมาร์เทนไซต์ตลอดทั้งชิ้นงาน ผลการทดสอบสมบัติทางกล พบว่าค่าความแข็งของชิ้นงานทดสอบ เท่ากับ 58.56 HRC สำหรับเหล็กกล้าเครื่องมือ JIS SKD 11 ผ่านการอบชุบภายใต้สภาวะแรงดันของสารชุบ พบว่าโครงสร้างจุลภาคของเหล็กมีโครงสร้างมาร์เทนไซต์ และ โครเมียมคาร์ไบด์ขนาดเล็กกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วโครงสร้าง ผลการทดสอบสมบัติทางกล พบว่าค่าความแข็งของชิ้นงานทดสอบ เท่ากับ 58.35 HRC
ผลการสึกหรอของพันช์เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก พบว่า พันช์ที่อบชุบด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความเย็น มีการสึกหรอมากในช่วงการปั้มตัดชิ้นงานชิ้นที่ 10 ถึง 4,000 โดยมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักค่อนข้างมากคิดเป็น 5.73% และเมื่อการปั้มตัดชิ้นงานชิ้นที่ 4,001 ถึง 10,000 พบว่าพันช์มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักไปจากเดิมเล็กน้อย คิดเป็น 1.09% สำหรับพันช์ที่อบชุบด้วยกรรมวิธีการอบชุบภายใต้สภาวะแรงดันของสารชุบ พบว่าการปั้มตัดชิ้นงานชิ้นที่ 10 ถึง 10,000 พันช์มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักไปจากเดิม 1.31%

Article Details

How to Cite
Rithinyo, M., Taysongnoen, K., MayaI, A., Khongrit, A., Runkratok, P., & Nithikarnjanatharn, J. (2017). ผลของการอบชุบด้วยกรรมวิธีทางความเย็นและกรรมวิธีการอบชุบภายใต้สภาวะแรงดันของสารชุบที่มีต่อการสึกหรอของแม่พิมพ์ตัด. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 3(2), 7–14. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/178856
บท
Research and Review Article

References

[1] มาโนช ริทินโย. 2553. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการสึกหรอของแม่พิมพ์ตัดที่ได้จากการอบชุบด้วยกรรมวิธีสเปร์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 13. (3) : 42-56.
[2] มาโนช ริทินโย, ชานนท์ บุนนท์, กัมปนาท ถ่ายสูงเนิน, จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร. 2556. อิทธิพลของกรรมวิธีการอบชุบภายใต้สภาวะการเผาอุ่นที่มีต่อพฤติกรรมการสึกหรอของแม่พิมพ์ปั้มตัด. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจาปี พ.ศ. 2556 16-18 ตุลาคม 2556 พัทยา ชลบุรี.
[3] มาโนช ริทินโย, จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร. 2558. อิทธิพลของกรรมวิธีการอบชุบที่มีต่อพฤติกรรมการสึกหรอของแม่พิมพ์ปั้ม ตัด. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจาปี พ.ศ. 2558, 6-7 สิงหาคม 2558 กรุงเทพมหานคร.
[4] D. Das, K.K. Ray, A.K. Dutta. Influence of temperature of sub-zero treatments on the wear behaviour of die steel. Elsevier. Wear 267 (2009) 1361-1370
[5] Simranpreet, S. G., Jagdev, S., Rupinder S. and Harpreet S., Metallurgical principles of cryogenically treated tool steels-a review on the current state of science, Int J Adv Manuf Technol. 2011; 54: 59–82
[6] Wanga J., Xionga J., Fan H., Yanga H. , Liub, H. and Shenb, B. Effects of high temperature and cryogenic treatment on the microstructure and abrasion resistance of a high chromium cast iron. journal of materials processing technology. 2 0 0 9; 2 0 9 : 3236–3240