การเพิ่มผลิตภาพสายการประกอบตู้ควบคุมเอเอ็มอาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาที่พบในปัจจุบันของแผนกประกอบตู้ควบคุมเอเอ็มอาร์ของโรงงานกรณีศึกษาคือ แต่ละสถานีงานได้รับภาระงานต่างกันมาก ส่งผลให้พนักงานมีเวลาว่างงานสูง ในขณะเดียวกัน กระบวนการประกอบตู้ควบคุมเอเอ็มอาร์มีการดำเนินการอย่างไม่ต่อเนื่องและมีต้นทุนการผลิตสูง การวิจัยนี้จึงมุ่งจัดสมดุลสายการประกอบตู้ควบคุมเอเอ็มอาร์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานในสายการประกอบและลดต้นทุนในการผลิต การดำเนินการเริ่มจากการเก็บข้อมูลการทำงานของพนักงาน หาเวลามาตรฐาน และเสนอแนวทางการจัดลาดับงาน 5 แนวทาง โดยคิดจากการลดจำนวนพนักงานในสายการประกอบ แล้วจึงจัดสมดุลสายการประกอบด้วยวิธีของกิลบริด แอนด์ เวสเทอร์ และสร้างแบบจำลองสถานการณ์แนวทางการจัดลำดับงานทั้ง 5 แนวทางด้วยโปรแกรมอารีนา เพื่อเปรียบเทียบจำนวนพนักงาน เวลาเฉลี่ยในการประกอบ ประสิทธิภาพสายการประกอบ ผลิตภาพแรงงาน และต้นทุนต่อหน่วย ผลจากแบบจำลองสถานการณ์แสดงให้เห็นว่า แนวทางการจัดลำดับงานที่ 5 ให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักได้ดีที่สุดคือ มีผลิตภาพแรงงานสูงที่สุดและมีต้นทุนต่ำที่สุด โดยมีผลิตภาพแรงงาน 24.83 ตู้ต่อคน เพิ่มขึ้นจากเดิม 63.36 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยอยู่ที่ 12.08 บาท ลดลงจากเดิม 38.80 เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้แนวทางนี้ยังใช้พนักงานเพียง 6 คน ลดลงจากเดิม 4 คน สามารถผลิตตู้ควบคุมเอเอ็มอาร์ได้ 149 ตู้ต่อวัน ลดลงจากเดิม 1.49 เปอร์เซ็นต์ เวลาเฉลี่ยในการประกอบตู้ควบคุมเอเอ็มอาร์ 3.11 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิม 2.64 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพสายการประกอบเฉลี่ย 94.17 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจากเดิม 51.64 เปอร์เซ็นต์
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะได้รับอนุญาต แต่ห้ามนำไปใช้เพื่่อประโยชน์ทางธุรกิจ และห้ามดัดแปลง
References
[2] van Zelst, S., van Donselaar, K., Woensel, T., Broekmeulen, R. and Fransoo, J. 2009. Logistics drivers for shelf stacking in grocery retail stores: Potential for efficiency improvement. International Journal of Production Economics, 121: 620-632.
[3] บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์. 2552. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สานักพิมพ์ท้อป, กรุงเทพฯ.
[4] Chen, J.C., Chen, C.-C., Su, L.-H., Wu, H.-B. and Sun, C.-J. 2012. Assembly line balancing in garment industry. Expert Systems with Applications, 39: 10073-10081.
[5] Tuncel, G. and Topaloglu, S. 2013. Assembly line balancing with positional constraints, task assignment restrictions and station paralleling: A case in an electronics company. Computers and Industrial Engineering, 64: 602-609.
[6] Sternatz, J. 2014. Enhanced multi-Hoffmann heuristic for efficiently solving real-world assembly line balancing problems in automotive industry. European Journal of Operational Research, 235: 740-754.
[7] รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. 2553. คู่มือสร้างแบบจาลองด้วยโปรแกรม Arena ฉบับปรับปรุง. สานักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.
[8] Ekren, B.Y. and Ornek, A.M. 2008. A simulation based experimental design to analyze factors affecting production flow time. Simulation Modelling Practice and Theory, 16: 278–293.
[9] Yun, W.Y., Lee, Y.M. and Choi, Y.S. 2011. Optimal inventory control of empty containers in inland transportation system. International Journal of Production Economics, 133: 451-457.