การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาด้วยทฤษฎีความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์กลางใน การผลิตในโรงงานตัวอย่าง

Main Article Content

Prachuab Klomjit
Prasittichai Pasuktree

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาสูญเสียที่เกิดจากปัญหาการขัดข้องและเสียหายของเครื่องจักรในระหว่างทำ
การผลิต และจัดทำแผนงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้กับเครื่องจักรในโรงงานตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการการ
บำรุงรักษาด้วยทฤษฎีความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์กลาง แนวทางการศึกษาเริ่มจากการคัดเลือกและวิเคราะห์เครื่องจักรตามความวิกฤติและวิเคราะห์หน้าที่ของชิ้นส่วนเครื่องจักรผลิตวุ้นเส้น และนำข้อมูลที่ได้มาทำการหาสาเหตุข้อขัดข้องและทำการวิเคราะห์ความเสียหายและระดับความเสี่ยงด้วยวิธีการวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ (FMEA) จากนั้นทำการคำนวณรอบการเปลี่ยนทดแทนที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ด้วยการประมาณค่าพารามิเตอร์ความน่าเชื่อถือด้วยวิธีการทางสถิติ และทำการคำนวณหารอบงานบำรุงรักษาป้องกันตามแผน และนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้กับเครื่องจักร ซึ่งมีดัชนีวัดผล ได้แก่ เวลาสูญเสียในการผลิตอัตราความเสียหายและอัตราความพร้อมในการใช้งานของเครื่องจักร ผลการดำเนินงานพบว่า 1)เครื่องจักรผลิตวุ้นเส้น MC1 เวลาสูญเสียในการผลิตลดลงเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 947 นาที คิดเป็นอัตราความเสียหายลดลงเท่ากับ 6.29 % และอัตราความพร้อมในการใช้งานเพิ่มเป็น 93.71 % 2)เครื่องจักรผลิตวุ้นเส้น MC2 เวลาสูญเสียในการผลิตลดลงเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 814 นาที คิดเป็นอัตราความเสียหายลดลงเท่ากับ 6.97 % และอัตราความพร้อมในการใช้งานเพิ่มเป็น 93.03 % 3)เครื่องจักรผลิตว้นุ เส้น MC3 เวลาสูญเสียในการผลิตลดลงเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 899 นาที คิดเป็นอัตราความเสียหายลดลงเท่ากับ 6.69 % และอัตราความพร้อมในการใช้งานเพิ่มเป็น 93.31 %

Article Details

How to Cite
Klomjit, P., & Pasuktree, P. (2016). การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาด้วยทฤษฎีความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์กลางใน การผลิตในโรงงานตัวอย่าง. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 2(2), 35–41. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/179537
บท
Research and Review Article

References

[1] วัฒนา เชียงกูล, เกรียงไกร ดำรงรัตน์ และดลดิษฐ์ เมืองแมน, การจัดการงานบำรุงรักษาด้วย Reliability, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2553
[2] กิติศักดิ ์พลอยพานิชเจริญ, การวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ Failure Mode and Effect Analysis, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2556
[3] สมภพ คลับแก้ว, ความน่าเชื่อถือของระบบและการบำรุงรักษา, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตาราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2550
[4] ปริญญาพร แจ่มมณี, สมภพ ตลับแก้ว, การบำรุงรักษาเชิงป้องกันรถบรรทุกขนส่งด้วยวิธีการวิศวกรรมความน่าเชื่อถือ วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการวิศวกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2556
[5] พิเชษฐ์ แก้วไทรท้วม, การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาด้วยทฤษฎีความน่าเชื่อถือเพื่อลดเวลาสูญเสียในการผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตกระดาษ,วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554