การพัฒนารูปแบบการจัดเส้นทางรถขนส่งนมโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ

Main Article Content

Kanokwan Supakdee
Pattra Suansokchuak
Kiatisak Pranet
Thachada Khotmongkol

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดเส้นทางการขนส่งนมภายใต้เงื่อนไขด้านเวลาและความจุของรถขนส่งนมโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดเส้นทางในการเดินทางขนส่งนมโรงเรียนจากบริษัท ธวัชฟาร์ม จำกัด ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จำนวน 131 แห่ง ได้ทำการพัฒนาการประยุกต์ใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างในการจัดเส้นทาง เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งนมโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขนส่งนมโรงเรียนเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในปีการศึกษา 2/2560 มีค่าใช้จ่ายที่ได้จากการจัดเส้นทางการขนส่งด้วยระบบเดิม เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 904,240.50 บาท จากระยะทางรวม 1,255.89 กิโลเมตร และเมื่อจัดเส้นทางด้วยวิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 888,235.50 บาท จากระยะทางรวม 1,233.66 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบระยะทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พบว่า ระยะทางใหม่สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึงวันละ 106.70 บาท หรือตลอดภาคการศึกษาที่ 2/2560 ค่าใช้จ่ายลดลง 16,005 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.77

Article Details

How to Cite
Supakdee, K., Suansokchuak, P., Pranet, K., & Khotmongkol, T. (2019). การพัฒนารูปแบบการจัดเส้นทางรถขนส่งนมโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 5(1), 59–65. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/188618
บท
Research and Review Article

References

[1] แนวทางการทบทวนระบบริหารจัดการนมโรงเรียนตามมติคณะรัฐมนตรี 2552, ข้อมูลจาก https://www.dpo.go.th/wp-content/uploads/2013/12/news-th-24.pdf (วันที่สืบค้นข้อมูล 23 พฤษภาคม 2561)
[2] Dantzig, G.B. and Ramser, J.H. “The truck dispatching problem”, Management Science. 6(1): 80-91, 1959.
[3] Larsen A. The dynamic vehicle routing problem. Doctor’s Thesis: Technical University of Denmark, 2000
[4] พีระวัฒน์ โชคณัติ รักศักดิ์ ไชยเสริฐ เชษฐา สมไชย และ ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างเพื่อแก้ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ, ข้อมูลจากhttps://www.ubu.ac.th/~pitakaso/1302476/new_doc/6.pdf (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 มิถุนายน 2561)