การใช้อัลกอริทึมวิธีการเลียนแบบการอบอ่อนสำหรับออกแบบเส้นทางการเดินรถยนต์ขนส่งสินค้าเกษตรกร

Main Article Content

ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี
ฐปนกุล หู้เต็ม
กันตพงศ์ สมตน
วิชชา เหลืองสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและพัฒนาอัลกอริทึมสำหรับค้นหาลำดับการเดินรถ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสมจากการจัดลำดับเส้นทางการขนส่งสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มเก็บข้อมูลน้ำหนัก ระยะทาง และเวลา ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มตลาดในช่วงเช้า กลุ่มตลาดในช่วงเย็น และกลุ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชัชวาล อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ แพ็คเกจจิ้ง แล้วนำไปจัดลำดับการเดินรถเพื่อขนส่งสินค้าในแต่ละช่วงเวลาโดยใช้วิธีการเลียนแบบการอบอ่อน (Simulated Annealing) เขียนเป็นอัลกอริทึมด้วยภาษาไพธอน เพื่อค้นหาผลลัพธ์เส้นทางที่เหมาะสมภายใต้เงื่อนไขในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ทั้งสามกลุ่ม มาวิเคราะห์ต้นทุนรวม จุดคุ้มทุน และกำไร ผลจากการศึกษาพบว่า อัลกอริทึมเลียนแบบการอบอ่อนสามารถให้ผลลัพธ์ การจัดลำดับเส้นทางเดินรถ น้ำหนักที่บรรทุกและจำนวนรถที่เหมาะสม และเมื่อนำเอาระยะทาง น้ำหนัก และจำนวนรถนี้ มาคิดจุดคุ้มทุนจะได้ จุดคุ้มทุนที่ 56,820,360.44 กิโลกรัม ภายใน 5 ปี คิดเป็นการบรรทุกสินค้าที่ 38,739.12 กิโลกรัมต่อวัน พบว่าใช้เวลา 4.02 ปี ถึงจะคุ้มทุนและสร้างผลกำไรได้ 1,379.10 บาท/วัน

Article Details

How to Cite
ตันติพันธุ์วดี ป. ., หู้เต็ม ฐ. ., สมตน ก., & เหลืองสุวรรณ ว. . (2021). การใช้อัลกอริทึมวิธีการเลียนแบบการอบอ่อนสำหรับออกแบบเส้นทางการเดินรถยนต์ขนส่งสินค้าเกษตรกร. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 7(1), 93–106. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/244149
บท
Research and Review Article

References

[1] ฤทัย ส่ำประเสริฐ และ สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย. การจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งที่เวลาในการเดินทางขึ้นอยู่กับช่วงเวลา สำหรับคลังสินค้ารูปแบบครอสด็อก. วิศวกรรมสาร มก. 2559; เล่มที่ 96: หน้า 53-64.
[2] ทศพร ผงทอง, การวางแผนเส้นทางการขนส่งโดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึม กรณีศึกษา เส้นทางการขนส่งขยะ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี [รายงานการวิจัย]. นนทบุรี; มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์; 2559.
[3] นคร ไชยวงศ์ศักดา ประเวช อนันเอื้อ นิเวศ จีนะบุญเรือง เสกสรร วินยางค์กูล ขวัญเรือน สินณรงค์ ธนากร จักรแก้ว วุฒิชัย ใจบาล และ ณัฐวุฒิ ศรีสว่าง. การจัดเส้นทางการขนส่งโดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึมและตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. 2558; เล่มที่ 1: หน้า 51-61.
[4] มณิศรา บารมีชัย และ บุศรินทร์ ศรีสตรียานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า. 2551 [เข้าถึงเมื่อ มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.iok2u.com/index.php/article/logistics-supply-chain/684-ct51-123.
[5] ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. บทที่ 6 ปัญหาการจัดการเส้นทางขนส่ง. 2551 [เข้าถึงเมื่อ มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://silo.tips/download
/6-vehicle-routing-problems-vrp.
[6] ปิยรัตน์ งามสนิท ธรา อั่งสกุล และ จิติมนต์ อั่งสกุล. ขั้นตอนวิธีการจำลองการอบเหนียวสำหรับการวางแผนแผนการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้เงื่อนไขบังคับด้านเวลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560; เล่มที่ 6: หน้า 713-727.
[7] สุคนธ์ทิพย์ สินวิวัฒนกุล นัทธพงศ์ นันทสำเริง และ สมบัติ สินธุเชาวน์. การประยุกต์อัลกอริทึมของวิธีเลียนแบบการอบอ่อนและวิธีเลียนแบบการเควนชิ่งสำหรับปัญหาพีมีเดียนโดยมีนโยบายราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง กรณีศึกษาการหาสถานที่ตั้งโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา. 2555; เล่มที่ 4: หน้า 61-70.
[8] กิตติภพ คนดี.การพัฒนาเทคนิคการกำหนดตำแหน่งติดตั้งโหนดอ้างอิงสำหรับระบบระบุตำแหน่งไร้สายภายในอาคารหลายชั้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2557.