การออกแบบระบบการกระจายสินค้าสำหรับโซ่อุปทานความเย็นของทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภคสำหรับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบระบบการกระจายสินค้าภายใต้โซ่อุปทานความเย็น (Cold Chain) ที่เหมาะสมกับทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภคจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการเพิ่มความสามารถในการขนส่งทุเรียนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยภายใต้ต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยนำทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวแบบต้นทุนมาใช้ร่วมกับตัวแบบโปรแกรมเชิงเป้าหมาย วิเคราะห์โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต้นทุนที่ใช้ในการขนส่ง เวลาที่ใช้ในการขนส่ง และระยะทางที่ใช้ในการขนส่ง ผลการวิจัยพบว่าสำหรับเส้นทางจากโรงงานแปรรูปจังหวัดยะลาไปยังศูนย์กระจายสินค้าภาคกลาง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) ศูนย์กระจายสินค้าภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) และศูนย์กระจายสินค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) ควรเลือกรูปแบบการขนส่งโดยใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่ง เวลาที่ใช้ในการขนส่ง และระยะทางในการขนส่งน้อยที่สุด และสำหรับเส้นทางจากโรงงานแปรรูปจังหวัดยะลาไปยังศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ควรเลือกรูปแบบการขนส่งโดยใช้รถขนส่งที่นำเทคโนโลยีน้ำผสมเกล็ดน้ำแข็งมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งและระยะทางที่น้อยที่สุดแม้ว่าระยะเวลาในการขนส่งจะไม่น้อยที่สุดก็ตาม แต่ระยะเวลาที่ต่างนั้นไม่ได้มีผลกับคุณภาพของทุเรียนตัดแต่งพร้อมบริโภคอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะได้รับอนุญาต แต่ห้ามนำไปใช้เพื่่อประโยชน์ทางธุรกิจ และห้ามดัดแปลง
References
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, “ ตารางแสดงรายละเอียดทุเรียน,” 2564. [ออนไลน์]. Available: http://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดทุเรียน/TH-TH.
สร้อย โชติแฉล้มสกุลชัย, “ผักและผลไม้สดตัดแต่งแช่เย็น…โอกาสเติบโตมาแรงรับเทรนด์สุขภาพ,” Food Focus Thailand, 2561.
IFPA (International Fresh-cut Produce Association), "Food Safety Guidelines for the Fresh-cut Produce Industry," International Freshcut Produce Association Alexandria, 1996.
G. A. Gonzalez-Aguilar, "Fresh-cut tropical and subtropical fruit products," Postharvest Biology and Technology of Tropical and Subtropical Fruits, 2011, pp. 381-418.
B. Yousuf, V. Deshi, B. Ozturk and W. M. Siddiqui, "Fresh-cut fruits and vegetables: Quality issues and safety concerns," Fresh-Cut Fruits and Vegetables, pp. 1-15, 2020.
Q. Ma, W. Wang, Y. Peng and X. Song, "An optimization approach to the intermodal transportation network in fruit cold chain, considering cost, quality degradation and carbon dioxide footprint," POLISH MARITIME RESEARCH 1 (97), vol. 25, pp. 61-69, 2018.
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, การพัฒนาระบบโซ่ความเย็นในประเทศไทย, เล่มที่ 4, กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564.
A. K. Beresford, "Modelling Freight Transport Costs: A Case Study of the UK-Greece Corridor," International Journal of Logistics Research and Applications, vol. 2, pp. 229-246, 1999.
R. Banomyong, Multimodal transport corridors in South East Asia : a case study approach, Philosophiae Doctor Thesis of the University of Wales, Logistics & Operations Management Section, Cardiff Business School, Cardiff University, 2000.
ส. สหประภา และ ก. สุทธิวาทนฤพุฒ, “การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจากประเทศไทยไปสหภาพยุโรป,” จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, เล่มที่ 35, หน้า 29-47, 2556.
ว. มีถม และ ส. พรชัยวิวัฒน์, “การออกแบบระบบการตัดสินใจเลือกเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างไทยกับเวียดนาม,” วิศวกรรมสาร มข., เล่มที่ 38, หน้า 187-195, 2554.
โครงการ“การพัฒนาระบบโซ่อุปทานความเย็นของทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีน้ำผสมเกล็ดน้ำแข็งและสารเคลือบผิวรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์”, 2565.
ศูนย์รวมข้อมูลการขนส่งด้วยรถบรรทุก, “โครงการศึกษาระบบมาตรฐานคุณภาพการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหารด้วยรถบรรทุก (Q Cold Chain),” ใน เสริมศักยภาพการขนส่งไทย ด้วยมาตรฐานการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ, 2562.
บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์ จำกัด, “บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ,” บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์ จำกัด, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://iel.co.th/temperature-control/. วันที่เข้าถึง2564 พฤศจิกายน 28].
งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, “ประมาณการค่าน้ำมันเชื้อเพลิง,” [ออนไลน์]. Available: http://iw.libarts.psu.ac.th/building/index.php/ar3/car-2. วันที่เข้าถึง2564 ตุลาคม 23].
บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), “ราคาน้ำมัน,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.pttor.com/th/oil_price. วันที่เข้าถึง2564 ตุลาคม 23].
Thai Airways, Interviewee, กระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ. [บทสัมภาษณ์]. 17 พฤศจิกายน 2564.