ผลของสภาวะการเพาะเลี้ยงยีสต์สะสมไขมันสูงด้วยน้ำทิ้งโรงงานขนมจีน

ผู้แต่ง

  • กุสุมาวดี ฐานเจริญ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อัสมา การะทุม สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วันทนา ธารวาวแวว สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ปิยะธิดา บุตรวงศ์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ไบโอดีเซล, น้ำทิ้งโรงงานขนมจีน, ยีสต์สะสมไขมันสูง

บทคัดย่อ

จังหวัดกาฬสินธุ์มีโรงผลิตขนมจีนซึ่งพบว่า กระบวนการผลิตขนมจีนมีการใช้นํ้าเป็นจํานวนมาก ทําให้มีปริมาณนํ้าทิ้งจากกระบวนการผลิตมากตามไปด้วย นํ้าทิ้งมีองค์ประกอบต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ เช่น คาร์โบไฮเดรต จําพวกแป้ง และนํ้าตาล รวมทั้งโปรตีนและธาตุอาหาร เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ซึ่งสามารถเป็นแหล่งคาร์บอนและธาตุอาหารสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์ปัจจุบันไบโอดีเซลได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะพลังงานทดแทนที่สำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานและสภาวะโลกร้อน โดยน้ำมันจากจุลินทรีย์ได้รับความสนใจใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบดั้งเดิมในการผลิตไบโอดีเซล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงยีสต์สะสมไขมันสูง Candida tropicalis KS103 และ Rhodotorula mucilaginosa BJMK43 เพื่อให้มีการสะสมไขมันในเซลล์มากที่สุด ยีสต์สะสมไขมันสูง C. tropicalis KS103 มีการสะสมไขมันภายในเซลล์สูงสุด เท่ากับ 69.09±3.18 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง โดยการเพาะเลี้ยงใน lipid accumulation medium เป็นเวลา 8 วัน มีค่าพีเอชเริ่มต้นของอาหารเท่ากับ 5.0 อุณหภูมิในการบ่มเท่ากับ 30 องศาเซลเซียส โดยใช้ (NH4)2SO4 1.0 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งไนโตรเจนในอาหารเลี้ยงเชื้อ ผู้วิจัยคาดหวังว่า ผลสําเร็จที่ได้จากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสําหรับการพัฒนากระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากยีสต์ไขมันสูง

References

กุสุมาวดี ฐานเจริญ, นิตยา นาฆะเมฆ และอัศนี แสนมา. (2561). “การผลิตไบโอดีเซลจากยีสต์สะสมไขมันสูงโดยใช้ไฮโดรไลเสทซังข้าวโพดเป็นแหล่งคาร์บอน”. วารสารเกษตรพระวรุณ. 15 (2): 345-354.

จิดาภา ทิน้อย และนวลศรี รักอริยธรรม. (2553). “การผลิตไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ที่คัดเลือก แล้วในอาหารที่เตรียมได้จากกากสับปะรด”. รายงานการวิจัย สถาบันพระจอมเกล้าคุณ ทหารลาดกระบัง: กรุงเทพฯ.

ชิษณุพงษ์ ประทุม. (2557). การบําบัดน้ำเสียโรงงานผลิตขนมจีนด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพร่วมกับการบําบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นพวรรณ ด่านบำรุงตระกูล, ธีราพร ตังเจริญ และประมูล ภระกูลสุขสถิตย์. (2557). “ผลของยูเรียต่อการผลิตเอทานอลโดย Saccharomyces cerevisiae Sc90”. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: 1-8.

รัตนภรณ์ ลีสิงห์. (2550). “เอกสารประกอบการสอน วิชา 317438 เชื้อเพลิงชีวภาพ”. ขอนแก่น: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

วรพจน์ รัตนพันธุ์. (2550). “สภาวะการบําบัดน้ำเสียจากการผลิตเส้นขนมจีนโดยระบบแอนแอร์โรบิคคอนแทค”. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศรีอุบล ทองประดิษฐ์ และสุภาษิต ชูกลิ่น. (2557). “การผลิตเอทานอลเชื้อเพลิงจากน้ำทิ้งโรงงานผลิตแป้งขนมจีน”. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: สงขลา.

อภิเชษฐ์ ศรีวิชา และรัตนภรณ์ ลีสิงห์. (2553). “การผลิตลิปิดโดยยีสต์ไขมันสูงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล”. The 11th Graduate Research Conference Khon Kaen University 2010, Khon Kaen, Thailand: 837-843.

อานนท์ ปะเสระกัง, วิโรจน์ ภัทรจินดา, คณิต วิชิตพันธุ์ และ รัตนภรณ์ ลีสิงห์. (2556). “ศึกษาผลของระดับกากน้ำตาลและแอมโมเนียมซัลเฟตต่อการผลิตไขมันในเซลล์ยีสต์ Trichosporon asahii”. แก่นเกษตร. 41 (ฉบับพิเศษ 1): 100-104.

Bligh E.G. & Dyer W.J. (1959). “A rapid method of total lipid extraction and purification”. Canadian Journal of Biochemistry and Physiology. 37 (8): 911-917.

Ma, S., Ye, L., Liu, C., Xia, N. & Deng, L. (2018). “Lipid engineering combined with systematic metabolic engineering of Saccharomyces cerevisiae for high-yield production of lycopene”. Metabolic Engineering. 52 (22): 134-142.

Miller, G. L. (1959). “Use of Dinitrosalicylic Acid Reagent for Determination of Reducing Sugar”. Analytical Chemistry. 31 (3): 426–428.

Perrier, V., Dubreucq, E., Galzy & Arch, P. (1995). “Fatty acid and Carotenoid composition of Rhodotorula strains”. Archives of Microbiology. 164 (3): 173-179.

Puangbut, M., Rattanachan S., Paine, T. & Leesing, R. (2016). “Conversion of Fermented Rice Noodle Wastewater to Microbial Lipid by Mixed Culture of Microsoft and Yeast”. Journal of Clean Energy Technologies. 4 (4): 257-261.

Ratledge, C. (2004). “Fatty acid biosynthesis in microorganisms being used for Single Cell Oil production”. Biochimie. 86(11): 807–815.

Siripattanakul, S., Ratanapongleka, K., Sangthean, P., Yoottachana, K. & Pimwongnok, K. (2010). “Fermented rice noodle wastewater treatment and ethanol production potential using entrapped yeast cells”. Water Practice & Technology. 5: 1-8.

Siripattanakul-Ratpukdi, S. (2012). “Ethanol production potential from fermented rice noodle wastewater treatment using entrapped yeast cell sequencing batch reactor”. Applied Water Science. 2: 47-53.

Xu P., Li L., Zhang F., Stephanopoulos G. & Koffas M. (2014). “Improving fatty acids production by engineering dynamic pathway regulation and metabolic control”. Proceedings of the National Academy of Sciences.111: 11299–11304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-10

How to Cite

ฐานเจริญ ก., การะทุม อ., วันทนา ธารวาวแวว ว. ธ., & บุตรวงศ์ ป. (2020). ผลของสภาวะการเพาะเลี้ยงยีสต์สะสมไขมันสูงด้วยน้ำทิ้งโรงงานขนมจีน. SciTech Research Journal, 3(1), 1–13. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jstrmu/article/view/245781