การเพิ่มคุณสมบัติหน่วงการลามไฟบนผ้าไหม โดยใช้พอลิไดเมทิลไซลอกเซน และไดแอมโมเนียฟอสเฟต

ผู้แต่ง

  • จินดาพร สืบขำเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • มุณี จันทะรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผ้าไหม, พอลิไดเมทิลไซลอกเซน, ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต, สารหน่วงไฟ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้สารพอลิไดเมทิลไซลอกเซน (PDMS) และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) เคลือบผ้าไหมผ้าไหมเพื่อเพิ่มสมบัติหน่วงการลามไฟในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 3 อัตราส่วนโดยมวล คือ พอลิไดเมทิลไซลอกเซน : ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส : น้ำปราศจากไอออน 10 : 2 : 88, 10 : 6 : 84 และ 10 : 10 : 80 ซึ่งพบว่า อัตราส่วน 10 : 10 : 80 มีคุณสมบัติในการต้านการลามไฟดีที่สุดจาก 3 อัตราส่วนดังกล่าว จึงนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติอื่น ๆ จากการวิเคราะห์สภาพพื้นผิวผ้าไหมหลังเคลือบสารพอลิไดเมทิลไซลอกเซนและไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ก่อนซัก และหลังซัก 5, 10, 20 และ 30 รอบ ที่กำลังขยาย 50, 500, 5000 และ 10,000 เท่า พบว่าสภาพพื้นผิวของผ้าไหมก่อนซักมีลักษณะขรุขระ เมื่อผ้าไหมผ่านการซัก 5, 10, และ 20 รอบ มีสภาพพื้นผิวที่ขรุขระน้อยลง และเมื่อทำการซัก 30 รอบ สภาพพื้นผิวของผ้าไหมนั้นยังคงแสดงลักษณะของชั้นเคลือบอยู่แต่จะมีผิวที่เรียบ ผลการทดสอบมาตรฐาน NFPA 701-1 ของผ้าไหม จำนวน 10 ตัวอย่าง พบว่าค่าเฉลี่ยของมวลที่หายไปเท่ากับ 2.63 % มีเวลาเฉลี่ยของการลุกไหม้ที่ของเหลวเริ่มหยดเท่ากับ  0 วินาทีต่อชิ้นงาน ผลการทดสอบความคงทนต่อการซักพบว่าค่ามุมสัมผัสเฉลี่ยของหยดน้ำบนผ้าไหมก่อนซัก และหลังซัก 5, 10, 20 และ 30 รอบ เท่ากับ 138.45, 122.87, 122.73, 122.07 และ 118.63 องศา ตามลำดับ ในตัวอย่างที่มีจำนวนการซัก 30 รอบ มีค่ามุมสัมผัสอยู่ระหว่าง 90 ถึง 120 องศา และในตัวอย่างก่อนซัก และหลังซัก 5, 10 และ 20 ครั้ง มีค่ามุมสัมผัสมากกว่า 120 องศา เรียกว่า พื้นผิวไม่ชอบน้ำยวดยิ่ง ซึ่งเมื่อมุมสัมผัสน้อยลง จะทำให้ประสิทธิภาพของการหน่วงไฟลดลงตามไปด้วย

Author Biographies

จินดาพร สืบขำเพชร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์

มุณี จันทะรัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

References

Boonthamsong Korrapin. (2012). Preparation of cotton fabric with flame retardant properties. (1st ed.). King Mongkut's Uniersity Of Technology North Bangkok.

Boonyayut Rachata, Sangsirimongkolying Rassamee and Sakong Phornkamol (2019). The Study of Adding Fire Retardant Property in Natural Indigo Dye Fabric for Indigo Dyeing Community Enterprise. EAU HERITAGE JOURNAL Science and Technology. 13(3). 132-142.

Department of Public Works and Town & Country Planning. (2019). Criteria for evaluating and verifying Fire safety of decorative materials used inside buildings. (1st ed.). Department of Public Works and Town & Country Planning.

Lertkajornsook Panittha. (2010). Flame retardant and antidripping of polyester fabric using diammonium hydrogen phosphate, bentonite and aluminium hydroxide. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. Thailis. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

P. Zhu, S. Sui, B. Wang, K. Sung and G. Sun. (2004). A study of pyrolysis and pyrolysis product of flame-retardant cotton fabric by DSC, TGA and PY-GC-MS. J. Anal. Appl. Pyrolysis, Vol. 71, pp. 645-655.

Sansuksom Pakkarada. (2018). A Study on Thermal Resistance Efficiency and Flame Retardancy Performance of Cotton Fabric Coated by Synthesis Silica and Silica Derived from Rice Husk Ash. APHETI JOURNALS. 7(2). 71-81.

Wongjaikam Wijitra and Wongsawang Doonyapong. (2016). Improvement of Flame Retardancy of Thai Silk Fabric by Environmentally-Friendly Plasma Treatment Process. Kasetsart Engineering Journal. 29(97). 37-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

สืบขำเพชร จ., & จันทะรัง ม. (2023). การเพิ่มคุณสมบัติหน่วงการลามไฟบนผ้าไหม โดยใช้พอลิไดเมทิลไซลอกเซน และไดแอมโมเนียฟอสเฟต. SciTech Research Journal, 6(3), 49–62. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jstrmu/article/view/250207