การพัฒนาชุดฝึกอบรม การเจริญสติแบบไหว-นิ่ง ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6

ผู้แต่ง

  • จีระศักดิ์ เลพล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุทธิพร บุญส่ง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การเจริญสติแบบไหว-นิ่ง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุด ฝึกอบรมโดยวิธีการฝึกสติแบบไหว - นิ่ง 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรม โดยวิธีการฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการฝึกอบรมของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมที่คะแนน เฉลี่ยทางสถิติที่ระดับ .05 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม ค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ผลของทักษะปฏิบัติระหว่างฝึกอบรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} =3.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของการประเมินพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ข้อที่ 12-15 ( gif.latex?\bar{X} =3.35) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ข้อที่ 1 ( gif.latex?\bar{X} =3.25) ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการนำวิธี ปฏิบัติการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นข้อหนึ่งในหลักการปฏิบัติสมถะกรรมฐานของทาง พระพุทธศาสนาที่นำมาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เป็นทางเลือกในการนำมาเป็นวิธีจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้ เกิดการเรียนรู้อีกวิธีการหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่หลักการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาสู่ เยาวชนเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย

References

คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2544). แกนหลักแนวคิดการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และเกณฑ์การประเมินโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา

กัญชลี ศรพรหม. (2541). เจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

คำพอง สมศรีสุข. (2546). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ศึกษากรณีการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2544). การอบรมเชิงพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : พี.เอลีฟวิ่ง.

จิราพร แสงนิรันดร์. (2543). ผลการสอนโดยใช้เทคนิคผสมผสานเพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิม ฟักอ่อน. (2546). เอกสารเพิ่มประสบการณ์การวิจัยในชั้นรียน. (ม.ป.ท.). (อัดสำเนา).

ชัชวาล เปลี่ยนขำ. (2537). การศึกษาสภาพและปัญหาในการนำหลักสูตรไปใช้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูศรี สุวรรณโชติ. (2544). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : ไทยอักษร.

ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2542). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของการศึกษาในโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ภาคตะวันอกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฮันห์, ติช นัท. (2549). ปาฏิหาริย์ยาแห่งการตื่นอยู่เสมอ (แปลจาก The Miracle of Being Awake โดยพระประชา ปสนฺนธมฺโม ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร : (ม.ป.พ.).

ดุสิต อารยกูล. (2548). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2531). หลักสูตรและแบบเรียนประถมศึกษา. ภาคหลักสูตรและการสอน วิทยลาลัยครูธนบุรี. (ม.ป.ท.).

ทิศนา แขมมณี. (2528). การประเมินหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพนคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล. (2529). การพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดสู่แนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : อักษรบัณฑิต.

ธีระยุทธ์ วิสุทธิ. (2542). การจัดการความเครียดของพนักงานโรงงาน โดยให้การปรึกษาแบบกลุ่มรวมกับการเจริญสติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิรมล ศตวุฒิ. (2543). การพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ม.ป.ท.).

บรรพต สุวรรณประเสริฐ. (2544). การพัฒนาหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่ : โนเลตเซนเตอร์.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและเทคนิคฝึกอบรม. (เอกสารประกอบการ สอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

_______. (2548). หลักการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตร. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยเทพสตรี.

ประสิทธิ์ ทองอุ่นและคณะ. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร : เธิด์เวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ประสาท อิศรปรีดา. (2520). ธรรมชาติและกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยาม.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2538). เทคนิคทางการวิจัยเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีนิยาสาสน์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2530). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พระมหาประนอม ทองไพรบูลย์. (2549). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การลดความทุกข์เพิ่ม ความสุข สำหรับ อุบาสก อุบาสิกา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

วิชาการ, กรม. (2534). การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2544 ก.). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : องค์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

_______. (2544 ). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

________. (2544). และมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

สำนักงานมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2553). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ 2. (พ.ศ. 2549 – 2553). กรุงเทพมหานคร : (ม.ป.พ.).

วิจิตร ภักดีรัตน์. (2538). “หน่วยที่ 9 สื่อมวลชนทางการศึกษา” ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตร อาวะกุล. (2537). การฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิเชียร วงศ์ใหญ่ (2525). การพัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธเนศวร.

________ . (2544). หลักและแนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษา สานปฏิรูป, 3(45). 50-53.

วิภาดา เกตพิทักษ์ (2539). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และสภาพแวดล้อมทางสังคมในห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิราพร พงศ์อาจารย์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วิไล ทองแผ่. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สมพร หวานเสร็จ. (2545). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ปกครองเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมศักดิ์ ดงศรี. (2536). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

สงวน สุทธิ เลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร : พิทยวิสุทธิ์.

สงัด อุทรานันท์. (2530). ทฤษฎีและหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : มิตรสยาม.

________ . (2532). พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : มิตรสยาม.

Beauchamp, George. (1981). Curriculum theory. Lllionois : F.E. Peacook Publister.

Best, Johnson W. (1981). Research in Education. (4th ed). Englewood Ciffs : Prentice –Hall inc.

Dawitt Chales Maurice. (1958). “ The Extent of Relationship between Theory and Practicen Teaching of Social Studies in Elementary School,” Dissertation Abstracts. 18{2}: 522 – A, February.

Fullan, M. & A. Pomfret. ( 1977) . Research on Curriculum and Instruction Imprementation. Reviews of Educational, 47(2), 342 – 349.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Eduation. New York : McGraw – Hill.

Lazarowilz, R. (1976). Doss The Use of Curriculum Change Teacher’Attitude lnquiry.

Taba, Hida. (1962). Curriculum Dvevelopment : Theory in to practice. New York : Macmilan. Brace & Warill, lnc.

Tyler, Ralph W. (1970). Basic principle of curriculum and instruction. Chicago : University of Chocago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-28