การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอน ผังกราฟิก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • วิมล ทองผิว คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, รูปแบบการสอนผังกราฟิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิก เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ ระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิกและกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ปกติ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการสอนผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้แผนทดลองแบบกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม เครื่อง มือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิก แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ทั้ง 6 แผนมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิกกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมก่อนเรียนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิกอยู่ในระดับมาก

References

กรรณิการ์ ตรีวิเศษ. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์
ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช. กรุงเทพมหานคร

. (2556).กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สานักงานรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร

จงรัก เทศนา. (2548). เอกสารเรื่องการพัฒนาทักษะการคิดในกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยใช้ Graphic Organizers สาขาวิชาคอมพิวเตอร์โรงเรียนอุทัยวิทยาคม สอนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี 2548. (เอกสารแนะนาผลงาน)

จงรัก เทศนา. (2548). การพัฒนาทักษะการคิดในการทาโครงงานโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizers) สาระเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุทัย
วิทยาคม ครูชานาญการพิเศษ. โรงเรียนอุทัยวิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.

ชัยวัฒน์ วรรณพงษ์. (2541). ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมุ่งสร้างกิจกรรมฝึกการคิด. การปฏิรูปการศึกษา

________. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โอเพ่นเวิลด์ส

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิควิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ส่องหล้า ตันจินดาประทีป.(2554). คู่มือการใช้ผังกราฟิกประกอบการเรียนการสอนเรื่อง สารสนเทศ และเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนสุรนารีวิทยา. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ปีการศึกษา 2554.

Ausubel, D.P. (1968). Education Phychology : A Cognitive View. New York : Holt.

Robinson Doniel H. (1998, Winter). Graphic Organizers as aids to text learning. Reading Research and Instruction. 37: 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-28