การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • รังศิมา ชูเทียน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ทศพร แสงสว่าง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐานวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บารุง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t -test for dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 82.93/80.85 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 8.20 และมีค่า S.D. เท่ากับ 0.40 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.17 มีค่า S.D. เท่ากับ 1.49 มีค่า t -test ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 3.77 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศหลังใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับมาก

References

กันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุล และลักษณา เถาว์ทิพย์. (2550). กลยุทธ์การพัฒนา Blog เพื่อสนับสนุนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นวันที่ 30 มกราคม 2557. จาก http:// dllibrary.spu.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/1474/12/12.

จันทวรรณ น้อยวัน และธวัชชัย ปิยะวัฒน์. (2548). การใช้ระบบบล็อก GotoKnow,org เพื่อการจัดการความรู้เขียนจากประสบการณ์ของผู้พัฒนาและดูแลระบบ.
กรุงเทพมหานคร : นานาเรื่องราวการจัดการความรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.).

ดวงตา เสาวโรนุพันธุ์. (2552). การพัฒนาระบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

ถนอมพร ตันติพิพัฒน์. (2539). คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (ก.ค. - ก.ย.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 1 - 11.

ทิศนา แขมมณี. (2545). 14 วิธีสอนสาหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิชชิ่ง.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิสุทธิ์ พิชัยยุทธ์. (2545). การศึกษาความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของครูระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศุภชัย สุขะนินทร์. (2545). เปิดโลก e - Learning การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา Educational Technology, 19(1), 20 - 26.

สุชาติ วงศ์สุวรรณ. (2542). การเรียนรู้สาหรับศตวรรษที่ 21 : การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.

อนงค์วรรณ คุณดิลกชุติวัต. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บรายวิชา Word Processing สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-23