การส่งเสริมคุณภาพและคุ้มครองอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

ผู้แต่ง

  • ขจรกาญจน์ อุดมธรรมภักดี สาขานิติเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ส่งเสริมคุณภาพ, คุ้มครอง, มัคคุเทศก์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์เถื่อนของประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย และศึกษาเปรียบเทียบผลการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์เถื่อน เพื่อส่งเสริมคุณภาพและคุ้มครองมัคคุเทศก์ที่ถูกกฎหมายในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (ก่อน-หลัง) โดยการเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์เถื่อนของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งก็คือพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ของประเทศไทยกับรัฐบัญญัติอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2549 ของประเทศมาเลเซีย โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ คือ ข้อมูลข่าวสารมีความสมบูรณ์ (Perfect Information) ตามรูปแบบของ Harsanyi Transformation และหลักกฎหมายในเรื่อง หลักความเสมอภาค และหลักความมีประสิทธิภาพ มาประกอบการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขกฎหมายในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์เถื่อนในมุมมองทางนิติเศรษฐศาสตร์ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทาการค้นคว้าข้อมูลจากตำรา บทความ เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ตลอดจนการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์ ได้แก่ มัคคุเทศก์ที่ถูกกฎหมาย กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา บริษัทนำเที่ยว สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย โดยทำการสัมภาษณ์ปัญหาทางด้านมัคคุเทศก์เถื่อน บทลงโทษที่เหมาะสม และแนวทางแก้ไข โดยผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์ มีการกำหนดเนื้อหา และสาระสำคัญต่าง ๆ เพื่อทาให้บริษัทนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ สามารถประกอบอาชีพและบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ประเทศไทยนั้น มีจุดเด่นกว่าประเทศมาเลเซียในหลาย ๆ ด้าน เช่น คำจำกัดความต่าง ๆ และวิธีการสั่งพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตที่ถือได้ว่า เป็นจุดเด่นของประเทศไทย แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังประสบกับปัญหาที่สาคัญ และควรได้รับการแก้ไข เช่น ปัญหาทางด้านข้อกฎหมายที่ไม่มีการระบุถึงคำนิยาม หรือลักษณะเฉพาะของมัคคุเทศก์เถื่อน อย่างชัดเจน และปัญหาทางด้านวิธีการป้องกันทัวร์ศูนย์เหรียญ (Zero Dollar Tour) รวมถึงปัญหาทางด้านเจ้าหน้าที่ตารวจหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ตลอดจนปัญหาทางด้านความเสมอภาคของข้อกฎหมาย และประสิทธิภาพของข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ที่ยังมีข้อบกพร่องในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นประเทศไทยควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ1) ประเทศไทยควรมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์เถื่อนหรือทัวร์ศูนย์เหรียญ (Zero Dollar Tour) แบบประเทศมาเลเซีย เช่น การแสดงข้อมูลงบการเงิน การแสดงเอกสารลับทางการค้า การแสดงรายละเอียดของมัคคุเทศก์ที่ปฏิบัติงานในบริษัทนำเที่ยว การแสดงรายงาน ต่อใบอนุญาตของมัคคุเทศก์ที่ถูกกฎหมาย รวมถึงสถิติต่าง ๆ การแสดงข้อสัญญาทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผยของบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ และการแสดงอัตราผลตอบแทนของมัคคุเทศก์ ทุกคน เพื่อทำให้การตรวจสอบเกี่ยวกับการดำเนินการของมัคคุเทศก์เถื่อนของบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ ทำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นต้น 2) ประเทศไทยควรมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนใบอนุญาตในการใช้มัคคุเทศก์เถื่อน เข้ามาเป็นมัคคุเทศก์ที่ให้บริการกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งหากบริษัทนาเที่ยวได้กระทำความผิด เช่น การใช้มัคคุเทศก์เถื่อนเข้ามาให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็สามารถระงับการดำเนินการกับบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น 3) ประเทศไทยควรมีการอบรมเพิ่มเติมความรู้ หรือการสอบวัดความรู้เพิ่มเติม เพื่อทำให้มัคคุเทศก์ มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด และควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ 3 โดยเฉพาะภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียนต่าง ๆ เพื่อรองรับต่อการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่าง ๆ ต่อไป 4) ประเทศไทย ควรมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าปรับ และอัตราจาคุกของมัคคุเทศก์เถื่อน ไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อทาให้บริษัทนำเที่ยว หรือผู้ที่จะเข้ามาประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์เถื่อน มีความเกรงกลัวต่อข้อกฎหมายต่าง ๆ และมีการปฏิบัติตนตามหลักกฎหมายที่ถูกต้องต่อไป

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2555 – 2559. บทสรุปสาหรับผู้บริหาร. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ เกณฑ์มาตรฐานในการตรวจประเมิน. (ม.ป.ท.). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว (Department of Tourism). (2556). จี้เอกชนท่องเที่ยวรับมือต้นทุน ที่พักขยายตัว-ดันธุรกิจแข่งสูง. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, 24 ก.ค. 2556.

กรมการท่องเที่ยว. (2557). กรมการท่องเที่ยวปรามบริษัททัวร์ใช้ไกด์ผีผิดกฎหมาย. สืบค้นวันที่ 4 มีนาคม 2557. จาก http://www4.eduzones.com/educationnews/
128333.

กรมการท่องเที่ยว. (2557). สำนักทะเบียนธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์. สืบค้นวันที่ 4 มีนาคม 2557. จาก http://www.tourism.go.th/index.php?mod=WebGuide.
กรมการท่องเที่ยว. อำนาจหน้าที่. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2557. จาก http://www.tourism.
go.th/index.php?mod=WebTourism&file=details&dcID=391&cID=130.

กรมการท่องเที่ยว. หน่วยงานภายใน. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2557. จาก http://www.tourism.go.th/ index.php.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2555). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). คู่มือคาอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร : วิชั่น พับบลิซชิ่ง.

ชานาญ ม่วงทิม. (2534). นักท่องเที่ยวในอนาคตต้องการอะไร ทำอย่างไร...? เราจึงจะตอบสนองความต้องการนั้น. จุลสารการท่องเที่ยว (10), 2 เมษายน 2534.

ธนพัต จันดาโชติ. (2557). เศรษฐกิจกับการดารงชีวิต. (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเลิศ ตั้งวัฒนา. (2549). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือท่องเที่ยว ไทย.

ประพัฒน์ ตรีณรงค์. (2514). พระประวัติและงานสมเด็จฯกรมพระยาดารงราชานุภาพ. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2550). มัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

รัชภูมิ สมสมัย. (2554). ประเทศไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. (บทความทางวิชาการ). กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป. ชม. 3. ม.ป.ท.

เวนิสา เสนีวงศ์. (2541). บันทึกรัตนโกสินทร์สมัย. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบุ๊ค.

สมเกียรติ ตรีรัตนพันธ. (2555). แผนงานแห่งชาติสาหรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ท.).

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2557. จาก http://rirs3.royin.go.th/new-search/ word-search-all-x.asp.

วัสสิกา พัวพันธ์พงษ์. Asean Countries to Support Asean Economic Community. สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2556. จาก ftp://www.ex-mba. buu.ac.th/.../วัสสิกา%20%20พัวพันธ์พงษ์.docx.

สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย. (2557). บทบาทหน้าที่ของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่ง ประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 4 มีนาคม 2557. จาก http://www.pgathaiguide.com/
index.php? lay=show&ac=article&Ntype=5&Id=539145141.

สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย. (2557). “ประวัติสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย”. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2557. จาก http://www.pgathaiguide.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=5&Id=53914514.

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. (2557). ประยุทธ์สั่งจัดระเบียบแก้ปัญหาไกด์เถื่อน. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2557. จาก http://www.komchadluek.net/detail/ 20141223/
198226.html.

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (2557). คลอด13 แผนแก้ปัญหาไกด์เถื่อน. สืบค้นวันที่ 23 ธันวาคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2557). เช็กสต๊อก..บัตรมัคคุเทศก์ สกัด"ไกด์เถื่อน"สวมรอย. สืบค้นวันที่ 23 ธันวาคม 2557. จาก http://www.thairath.co.th/content/463322.

Bellver and Kaufmann. (2005). Transparenting Transparency : Initial Empirics and Policy Applications. n.p.

Brenda S.A. Yeoh และคณะ. “Tourism in Singapore : An Overview of Policies and Issues”.Public Sector Transparency and the Iternational Investor Singapore New. Hotel & Tourism. Retrieved Dec 19, 2014, from http//www.ama 2.us.es : 8080/.../tourism%20in%20Singapore.pdf

World Tourism Organization (WTO/OMT). (2003). Tour Operators’ Initiative for Sustainable Tourism Development. The Tour Operators’ Initiative was developed and is supported by the United Nations Environment Programmed (UNEP). Retrieved Dec 19, 2014, from http://www.sikroad.unwto.org.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-23