ทักษะทางการบริหารกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ นามประดิษฐ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะทางการบริหาร, คุณลักษณะที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา/1)/ระดับทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน/2)/ระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน/และ 3)/ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการบริหารกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำวยการ รองผู้อำนวยการและครูในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 29 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 1,378 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษารองผู้อำนวยการและครูผู้สอนในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล/ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า/1) ระดับทักษะทางการบริหารทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านความคิดรวบยอด รองลงมาคือ ด้านเทคนิควิธีการ และทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำสุดคือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ 2)/ระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านวิชาการ รองลงมาคือ ด้านคุณธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติในระดับต่ำสุด คือ ด้านสังคมและชุมชน 3)/ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการบริหารกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน/สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต/2 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมวิชาการ. (2542). รายงานการวิจัยการสารวจความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการสอนของกรมวิชาการ.กรุงเทพมหานครมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

______. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานครมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานครมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

______. (2548). ข้อเสนอยุทธศาตร์การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงฯ.

จักกริช บุญเดชและคณะ. (2545). เส้นทางสู่ผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานครมหานคร : องค์กรมหาบัณฑิต เซนเตอร์

จิราพิชญ์ ขวัญพรหม. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับผลการปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ณรงค์ องค์ประเสริฐ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานครมหานคร : แอล.ที.เพรส.

นรายุทธ โหมาศวิน. (2546). คุณลักษณะผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามทรรศนะของครู โรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มธนบุรีเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานครมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

บุญช่วย ศิริเกษ. (2540). พฤติกรรมองค์การในการบริหารการศึกษา. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

บุญฤทธิ์ รุจิวงษ์สิริกุล. (2551). การเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พัทธพงศ์ จิระนคร. (2548). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทรรศนะของครูโรงเรียนเอกชนเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พรศักดิ์ จันทร์อ่อน. (2542). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู อาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดสกลนคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไพบูลย์ สุขเจริญ. (2548). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2545). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ศักดิ์ศรี สนจิตร์. (2549). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครรินทร์.

สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2548). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพของสถาบันพัฒนา ผู้บริหารการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. นนทบุรี : พินธุพันธ์.

สมโชค ยินดีสุข. (2545). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานประถมศึกษา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสนาะ ติเยาว์. (2544). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานครมหานคร : อักษรสมัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2554). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2546. กลุ่มนโยบายและแผน สานักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541 ก). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพมหานครมหานคร : พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

______. (2541). เอกสารการบรรยายหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาระดับสูง. กรุงเทพมหานครมหานคร : คุรุสภา

สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2550). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาเอกชน. บันทึกข้อความการจัดทำข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานนโยบาย
และแผน

สุวิมล ว่องวาณิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิวัฒน์ ภูไชยแสง. (2542). คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรนุช นิยุตรานนท์. (2548). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Cronbach, L.J. (1984). Essentials of Psychological testing Fourth Edition. New York : Harper&Row.

Katz, A.R.(1974). Skill of an Effective Administrator. Harvard Business Review.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psy Cho logical Measurement.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-23