รูปแบบจำลองภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตารวจ สำนักงานตารวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • เรวัต หัสเสนะ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, สมรรถนะ, หัวหน้าสถานีตำรวจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำกับสมรรถนะของหัวหน้าสถานีตำรวจที่พึงประสงค์ เพื่อการสร้างรูปแบบและนำเสนอรูปแบบจำลองภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจ การวิจัยใช้แบบผสมผสานด้วยการวิจัยเชิงปริมาณแบบการวิจัยภาคสนาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนั้นศึกษาค้นคว้าด้านเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการตารวจตั้งแต่ผู้กำกับการจนถึงผู้บังคับหมู่ที่ปฏิบัติงานในสถานีตารวจทั่วประเทศ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 418 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหา และมีการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานของรูปแบบจำลองภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจ ผลการศึกษาวิจัย ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจ ประกอบด้วยภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับมาก ส่วนภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย อยู่ในระดับปานกลาง และองค์ประกอบพฤติกรรมภาวะผู้นามีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบสมรรถนะของหัวหน้าสถานีตำรวจที่พึงประสงค์ อันประกอบด้วย สมรรถนะหลัก สมรรถนะด้านการบริหาร และสมรรถนะเฉพาะสำหรับหัวหน้าสถานีตารวจซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน และพิจารณาองค์ประกอบที่อยู่ในระดับมาก จะได้องค์ประกอบทั้งหมด 6 องค์ประกอบด้วยกัน เพื่อนำมาสร้างรูปแบบและนำเสนอรูปแบบจำลองภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจ ประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ มีจำนวน 4 ตัวแปรย่อย (2) ภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลง มีจำนวน 4 ตัวแปรย่อย (3) ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน มีจำนวน 3 ตัวแปรย่อย (4) สมรรถนะหลัก มีจำนวน 5 ตัวแปรย่อย (5) สมรรถนะด้านการบริหาร มีจำนวน 4 ตัวแปรย่อย และ (6) สมรรถนะเฉพาะสำหรับหัวหน้าสถานีตำรวจ มีจำนวน 5 ตัวแปรย่อย รวมถึงการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เห็นว่ามีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้จริง

References

กิตติ บุนนาค. (2549). THAI HRM & THAI HRD. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : บี เค อินเตอร์ปรินท์.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2550). “ปฏิรูปตำรวจโปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง” ในเอกสารชุดความรู้เพื่อ การพัฒนาระบบงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ งานตำรวจ

กองพัฒนาการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2549). แนวทางเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : ตำรวจ.

กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2553). สมรรถนะของหัวหน้าสถานีตำรวจ. (เอกสารเย็บเล่ม).

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). สุดยอดภาวะผู้นำ Super Leadership. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย.

เกรียงไกรยศ พันธ์ไทย .(2552). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นาวัฒนธรรมการทำงานในองค์การ และกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จามจุรี จำเมือง. (2548). รูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2543). ทักษะภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์.

ถวิล อรัญเวศ. (2544). นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารวิชาการ

ดนัย เทียนพุฒิ. (2545). การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : นาโกต้า.

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : อินโนกราฟฟิกส์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นาเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ลกรุ๊ป

เบญจพร แก้วมีศรี. (2545). การนาเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2544). ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน ศักยภาพแห่งความสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.

ประสิทธิ์ เขียวศรี. (2544). การนำเสนอแบบจาลองการพัฒนาภาวะผู้นาของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2530). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร : โอเดี่ยนสโตร์

_________. (2546). การบริหารงานตำรวจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มปท : บรรณกิจ 1991.

พูลสุข หิงคานันท์. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาลกระทรวงสาธรณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศพัศ พงษ์เจริญ. (2548). ตำรวจยุคใหม่คือหัวใจประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : มติชน.

พิเชษฐ์ วงษ์เกียรติขจร. (2553). ผู้นำการบริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.

วิเชียร ชิวพิมาย. (2539). การนำเสนอแบบจำรองการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร วิทยอุดม. (2548). ภาวะผู้นา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า

วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี. (2552). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสถานีตำรวจ. กรุงเทพมหานคร : ตำรวจ.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2549). ภาวะผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2553). การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมยศ นาวีการ. (2533). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาแบบยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2536). “ภาวะผู้นำ” (เอกสารประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5-8). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

_______. (2545). “ภาวะผู้นำ” ใน เอกสารประมวลสาระชุดวิชาประสบการวิชาชีพมหาบัณฑิตบริหารการศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2539). การนำเสนอรูปแบบระบบการบริหารคุณภาพแบบมุงคุณภาพทั้งองค์การในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทัศน์ ขอบคำ. (2540). รูปแบบการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2547). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของคณบดี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย เทพแสง. (2552). ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์. รูปแบบใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธี สุทธิสมบูรณ์ และสมาน รังสิโยกฤษณ์. (2549). หลักการบริหารเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร : ประชาชน.

สานักงานตารวจแห่งชาติ. (2547). พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์.

Avolio, B. J. (1999). Full Leadership Development: Building the Vital Forces in Organizations. Thousand Oaks, C.A. : Sage.

Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks, C.A. : Sage.

Cameron and Robert E. Quinn (1999). Diagnosing and Changing Organizational Culture. Reading, MA : Addison Wesley Longman.

Gary A. Yukl. (1989). Leadership in Organizations. New Jersey : Prentice-Hall

Casida, J., & Pinto-Zipp, G. (2008). Leadership-culture Relationship in Nursing Units in Acute Care Hospitals. Nursing Economics

Dettmer, P., Thurston, L. P., Knackendoffel, A., and Dyck, N. J. (2009). Collaboration, Consultation, and Teamwork for Students with Special Needs. (6th ed). New Jersey : Pearson.

Goleman, D. Boyatzis, R. and McKee, A. (2002). Primal Leadership: Realizing the Power of Emotional Intelligence. Boston : Harvard Business School Press.

Kotter, J.P.(1999).“On what leaders, really do”. Harvard Business Review Book. Boston : Harvard Business School.

Kouzes, J., & Posner, B. (1997). The leadership challenge. San Francisco : Jossey-Bass.

M, Noel. (1999). The Leadership Engine : How Winning Companies Guild Leadership at Every Level. New York : Haper Collins Publishers.

Maslow, L.J. (1970). Motivation and Personality. New York : Harper & Brother.

Watkins, Michael. (2003). The First 90 Days : Critical Success Strategies for New Leaders. At aii level. Andrew Numberg.

Robbins, S. P. (2005). Organizational Behavior (11th ed). Upper Saddle River, N.J. : Prentice Hall.

Simonsen, P. (1997). Promoting a Development Culture in Your Organization. Palo Alto, C.A. : Davies-Black.

Watkins, K. E. and Marsick, V. J. (1996). In Action : Creating the Learning Organization. Alexandria, V.A. : American Society for Training and Development.

Vroom, Victor H. (1964). Work and Motivation. New York : John Wiley & Sons.

Xenikou, A. & Simosi, M. (2006). Organizational Culture and Transformational Leadership as Predictors of Business Unit Performance. Journal of Managerial Psychology

Yamane, T. (1973). Statistics, an Introductory Analysis. (3rd ed). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29