ผลการเรียนรู้วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้เทคนิคแผนภาพ ความคิดกับเทคนิคซีไออาซี

ผู้แต่ง

  • สุนี กล้าหาญ สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

แผนภาพความคิด, ซีไออาซี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย โดยใช้เทคนิคแผนภาพความคิดระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคซีไออาซีระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคแผนภาพความคิดกับเทคนิคซีไออาซี 4) เจตคติต่อการเรียนวรรณคดี ไทยโดยใช้เทคนิคแผนภาพความคิดกับเทคนิคซีไออาซี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม และจับสลากเพื่อคัดเลือกเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่ม ทดลองที่ 2 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนภาพความคิด 2) แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคซีไออาซี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยมีค่า ความเชื่อมั่น 0.88 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทย มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคแผนภาพความคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคซีไออาซีหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี ไทยโดยใช้เทคนิคแผนภาพความคิดกับเทคนิคซีไออาซีไม่แตกต่างกัน 4) เจตคติต่อการเรียน วรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคแผนภาพความคิดกับเทคนิคซีไออาซีไม่แตกต่างกัน

References

จารุวรรณ เทียนเงิน. (2547). การเปรียบผลสัมฤทธิ์การพินิจวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้วิธีสอนตามแนวคิดของสเตอร์นเบอร์กกับวิธีสอน ปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระจารุพงษ์ จึงประยูร. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยโดยกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC กับวิธีการสอนตามคู่มือชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุรฉัตร บุญสนิท. (2544). ปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดีไทยในยุคปฏิรูปการศึกษา. ภาษาและหนังสือ. (16 เมษายน 2544). 32(3). 56-60.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2544). พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ 0 – NET ม. 3 จำแนกรายมาตรฐานการเรียนรู้ระดับประเทศปี 2555. กรุงเทพมหานคร :
คุรุสภา.

แสงระวี ประจวบวัน. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความ โดยใช้แบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แสนประเสริฐ ปานเนียม. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่สอนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CRIC
กับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำภา เวฬุวนารักษ์. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและเจตคติต่อการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้วิธีวิทยาสา
สตร์กับการสอนโดยใช้แผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Buzan, Tony., and Buzan, Barry. (1997). The Mind Map Book : Radiant Thinking. London : BBC Books.

Slavin, R E. (1987a). Cooperative Learning : Theory,research, and Practice (2ed) Boston : Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29