การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

ผู้แต่ง

  • อทิต พลจันทึก คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ประสิทธิผลด้านการศึกษา, กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้ของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลด้านการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิผลด้านการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และ 4) ศึกษาการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยวิธีการสุ่มที่ใช้ในการวิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และแบ่งชั้นภูมิของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 437 คน โดยวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อทดสอบโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับการจัดการความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลด้านการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิผลด้านการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกที่ระดับนัยสำคัญ .01 และ 4) การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านการศึกษา พบว่า การจัดการความรู้ทานายการมีประสิทธิผลด้านการศึกษาจากความสามารถในการผลิตผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงความสามารถในการพัฒนาทัศนคติทางบวกของผู้เรียนความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา และความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.80

References

กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. (2552). 60ปี กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ = 60th Anniversary Directorate of Education and Training RTAF. กรุงเทพมหานคร :
กองทัพอากาศ.

กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. แผนยุทธศาสตร์กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ พ.ศ.2552-2554. (ม.ป.ท.).

จาเริญ จิตรหลัง. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัย การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชรี คารินทร์. (2553). ประสิทธิผลของการจัดการความรู้ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : (ม.ป.ท.).

สุธิชา ชิตกุล.(2550). ความคิดเชิงระบบกับการพัฒนาองค์กร : ศึกษากรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.

สุวิชชา หอละเอียด. (2556). กระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608 -609.

Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row, 107.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline : The Art and Practice of Learning Organization. New York : Doubleday/Currency, 7-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-26