การพัฒนาชุดฝึกอบรมการคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา มาลาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เทียมยศ ปะสาวะโน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมการคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิด สร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลการคิดอย่าง สร้างสรรค์ ก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมการคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมการคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิด สร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรมการคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิด สร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) แบบประเมินชิ้นงานก่อนและหลังการฝึกอบรม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดฝึกอบรมการคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.96/80.47 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลความคิดสร้างสรรค์หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการ ฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรม การคิดแนวข้างที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X} =4.70)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไซลัน ซาและ (ม.ป.ป.). “เกณฑ์การให้คะแนน รูบิคสเกล”. สืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2557 จาก http://ded.edu.kps.ku.ac.th

เดอ โบโน, เอ็ดเวิร์ด, ผู้แปล ยุดา รักไทย และธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์, (2546). คิดแนวข้าง. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2538). “การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2552). ประมวลสาระชุดวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรม, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิรชรา ไชยแสง และศศิธร ดลปัดชา. (2555). “ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของคณะและคุณภาพการสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น”. (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาส์น.

บุปผา บุญรัตน์. (2541). “การใช้ของเล่นชุดยางพาราเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยในโรงเรียนทุ่งหว้า สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชนี กุลฑานันท์. (2554). “การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูแบบผสมผสานในการทำวิจัยในชั้นเรียน”. วิทยาพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุริสาส์นการพิมพ์.

สมใจ สืบเสาะ. (2555). “การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีบัณฑิต”. วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สิริวัลย์ ใจจะโปะ. (2555). ชุดฝึกอบรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดหมวกหกใบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-26