สัมฤทธิผลของการบูรณาการแบบสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้สดของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กรองกาญจน์ ถาวรวัฒนเจริญ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นนทลี พรธาดาวิทย์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ดอกไม้สด, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนรู้ เรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้สด วิชาศิลปประดิษฐ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และสะท้อนผลการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของนักเรียนด้วยการบันทึกอนุทิน การวิจัยใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน กลุ่มทดลองคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 จำนวน 28 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และแบบบันทึกอนุทินของนักเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา การ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลัง เรียนโดยใช้ t-test for Dependent Sample และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้าน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมี ภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม ด้านความรู้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และ หลังเรียน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านทักษะปฏิบัติผู้เรียน เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นตามลำดับ และผลสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรียนพบว่า นักเรียนได้รับ ความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาสาระของการบูรณาการแบบสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การประดิษฐ์ดอกไม้สด บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ และผู้สอนมีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ มีสื่ออุปกรณ์การสอนที่หลากหลาย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

จำเนียร จินตนา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งเวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2546). กิจกรรมการจัดการปลูกฝังค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย และปฐมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา 2551. ศูนย์ทนายความทั่วไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษาและกิจการพิเศษ, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เสกสรรค์ สามสี. (2545). การประเมินโครงการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในโรงเรียนแกนนำสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัตรา กุลยะ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้โดยครูใช้มโนมติรูวีที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2548). การสอนคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-29