ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภมรขวัญ ภมรปฐมกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การแข่งขัน, รถยนต์, ชิ้นส่วนรถยนต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเฉพาะเรื่องฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทย คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาค้นหาปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทยและ 3) เพื่อศึกษาค้นหากลยุทธ์ทางการตลาดและข้อเสนอแนะให้กับธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทย วิธีดำเนินวิจัยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยพิจารณาปรากฏการณ์ทางการส่งออกจากสภาพแวดล้อมสถิติหรือบริบทตามความเป็นจริงทั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบ ต่อการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด วิจัยเชิงคุณภาพจึงเน้นไปที่การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposeful Selection) จากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการขายของบริษัทตัวแทนผลิตและจำหน่ายรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทยที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี และทราบถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับขั้นตอนปัญหาและปัจจัยที่จะส่งผลต่อธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วน จำนวน 5 บริษัท (5 ท่าน) งานวิจัยนี้จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แล้วจึงนำข้อค้นพบทั้งหมดมาวิเคราะห์ สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและปัจจัยทางด้านอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา มีผลกระทบต่อธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของไทยมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคทางอ้อมทางด้านเงินทุนเทคโนโลยีทักษะแรงงานเป็นปัจจัยหลักเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทย 2) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีและปัจจัยทางด้านการส่งเสริมและสนับสนุนจาก ภาครัฐและหน่วยงานด้านการลงทุน การเปิดการค้าเสรี การเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และปัจจัยโดยอ้อมการปรับปรุงพัฒนาทางด้านสื่อโฆษณาและการตลาดและทักษะของบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทย 3) การสร้างความน่าเชื่อถือในตราสินค้า การสร้างความไว้วางใจ การสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการ การพัฒนาสื่อโฆษณาควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงงาน นโยบายของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยปรับปรุงและพัฒนาการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทยตามลำดับ

References

กฤษณี พิสิฐศุภกุล. (2557). บทบาทของการลงทุนในอุตสาหกรรม : นัยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจภูมิภาค. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 28 มิถุนายน 2559.จาก www.bot.or.th.

ดร.ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2553). ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวระยะสั้นของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิชากร เกสรบัว. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์และการพยากรณ์ : วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 4(8).

ธัญญารัตน์ ไชยวันดี. (2555). การพยากรณ์แนวโน้มมูลค่าการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงลักษณ์ โปร่งจิตร. (2557). กลยุทธ์และส่วนผสมทางการตลาดของผู้ส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นฤมล พึ่งทอง. (2557). ปัจจัยภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์จากประเทศไทย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปิยกานต์ จันทแพน. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไปสู่ภูมิภาคเอเชีย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เลิศศักดิ์ ชัยวณิชย์. (2557). การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และความจงรักภักดีต่อรถยนต์ปิกอัพยี่ห้อ ISUZU ของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สรวิศ ชัยเลิศวณิชกุล. (2557). แนวทางการกำหนดนโยบายด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สิขเรท ธาราศักดิ์. (2554). การค้าขายระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อกรินทร์ สังข์ทอง. (2552). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรมการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-28