การสร้างบทเรียนออนไลน์เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ลักษณนามไม่ถูกต้องของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • สมพงษ์ บุญหนุน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การสร้าง, บทเรียนออนไลน์, แก้ไขปัญหา, ลักษณะนามไม่ถูกต้อง

บทคัดย่อ

การสร้างบทเรียนออนไลน์เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ลักษณนามไม่ถูกต้องของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและสร้างบทเรียนออนไลน์ในการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ลักษณนามไม่ถูกต้องของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์ 80/80 ที่เรียนจากรูปแบบระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบระหว่างเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 บท บทละ 10 ข้อ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) บทเรียนออนไลน์ในการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ลักษณนามไม่ถูกต้องของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพที่ 81.58/82.69 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). “สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย”. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กองวิจัยการศึกษา , กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2538). การเรียนการสอนภาษาไทย ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา นาคสกุล. (2551). “การเสวนา เรื่อง การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน”. การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.จุฬาออนไลน์. องค์ประกอบของ LMS. สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2555. จาก http://www.tsu.ac.th/cc/wbl-training/Lms.html.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2547). “ปัญหาการสอนภาษาไทยในปัจจุบัน”. (เอกสารประกอบคำบรรยาย แผนกวิชามัธยมศึกษา). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร สุขะ. การพัฒนารูปแบบของเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิโรฒ ประสานมิตร. (2545). การสอนภาษาไทย .กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

อรนุช ลิมตศิริ. (2551). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาภรณ์ ใจเที่ยว. (2552). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-28