การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและลักษณะการใช้แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ต เรื่อง อาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ลักษณะการใช้แอพพลิเคชัน, แอพพลิเคชัน, อาเซียนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ต 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนที่เรียนด้วยแอพพลิเคชันกับผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ 3) ศึกษาลักษณะการใช้แอพพลิเคชัน 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ต เรื่อง อาเซียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ภายในชั้นเรียนและแบบสังเกตพฤติกรรมขณะอยู่ที่บ้าน 4) แบบประเมินความพึงพอใจผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ต เรื่อง อาเซียน เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ผลการเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนโดยใช้แอพพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้แอพพลิเคชันภายในชั้นเรียนแบบคนเดียวสลับเป็นกลุ่มและมีระยะเวลาที่ให้ความสนใจมากกว่า 10 นาที ขณะอยู่ที่บ้านผู้เรียนส่วนใหญ่มีการใช้แอพพลิเคชัน ในช่วงเวลาหลังรับประทานอาหารเย็น และผู้ปกครองร้อยละ 80 พบว่า การใช้แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ต เรื่อง อาเซียน ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของคนในครอบครัว 4) นักเรียนมีระดับความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชัน อยู่ในระดับมาก
References
เทียมยศ ปะสาวะโน. (2553). การพัฒนาศูนย์ศึกษาบันเทิงเพื่อเสริมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2538). มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์. สสวท. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). กลไกขับเคลื่อนการศึกษา...ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 มี.ค. 2553.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มืออบรมสร้างสื่อการเรียนรู้ สู่แท็บเล็ต. ม.ป.ท.
สุณิสา เฮงสวัสดิ์. (2546). ภาพยนต์ (หนัง)…คลังแห่งการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (4) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว