รูปแบบของภาวะผู้นำต่อประสิทธิผลของผู้นำที่มีต่อองค์การ : กรณีศึกษามุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เมืองพัทยา
คำสำคัญ:
รูปแบบของภาวะผู้นำ, ประสิทธิผล, ผู้นำองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบของภาวะผู้นำต่อประสิทธิผลของผู้นำที่มีต่อองค์การ : กรณีศึกษามุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เมืองพัทยา” กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่มีต่อองค์การ : กรณีศึกษามุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เมืองพัทยา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของผู้นำที่มีต่อองค์การ : กรณีศึกษามุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เมืองพัทยา และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของภาวะผู้นำต่อประสิทธิผลของผู้นำที่มีต่อองค์การ : กรณีศึกษามุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เมืองพัทยา การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เมืองพัทยา โดยใช้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกตัวต่อตัว (In-depth Interview) คณะผู้วิจัยได้กำหนดจำนวนของผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้นำโดยเสน่หา ผู้นำในอนาคตต้องมีความคิดกว้างไกล มองกาลไกล เพราะอนาคตพัทยาจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อยากให้ผู้นำปลอดการคอร์รัปชั่น จึงต้องมีเป้าหมายเอาไว้เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เห็นประชาชนเหมือนกับ พี่น้องในครอบครัว เห็นความเดือดร้อนของประชาชนเป็นความเดือดร้อนของตนที่จะต้องเร่งช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน มีการลงพื้นที่พบปะกับประชาชน ควรมีความซื่อสัตย์ สุจริต สามารถตรวจสอบการทำงาน งบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ ได้ ทำให้ประชาชนยอมรับ มีความซื่อสัตย์สุจริต ให้ความสำคัญกับงานที่ทำ/ งานที่ต้องรับผิดชอบ ความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งที่มีความสามารถหรือทักษะในด้านนั้นที่มีความโดดเด่นและสามารถให้ความรู้ หรือให้คำแนะนำกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 2) ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ ต้องมีวิสัยทัศน์ที่มองกาลไกล รอบคอบ มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องมีเป้าหมายขององค์การของตนเองว่าใน 1 - 3 ปีข้างหน้าจะพัฒนาอะไรให้เมืองพัทยาให้มีความเจริญมากขึ้น หรือทำอย่างไรให้มีนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวมากขึ้น ต้องมีพันธกิจที่เป็นไปได้จริง หน้าที่ที่ต้องทำเพื่อความสำเร็จ งานที่ทำต้องมีมาตรฐาน ที่เป็นที่ยอมรับจากสากล ทำตามกระบวนการที่ถูกต้อง ไม่ใช่ทำตามใจของตนเอง เป็นผู้นำที่พัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ผู้นำจะต้องเป็นผู้คิดริเริ่มเรื่องที่จะพัฒนาไม่ใช่พัฒนาแค่ด้านเดียวแล้วจบ ผู้นำควรที่จะพัฒนาในด้านอื่น ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้าง ด้านการบริหาร ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษาของประชาชนในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ให้มีการพัฒนาให้ปัญหานั้น ๆ หมดไป และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งการพัฒนาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต้องทันสมัย มองถึงยุคปัจจุบัน - อนาคต ไม่เป็นคนที่มองแต่อดีต ติดตามความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ผู้นำอาจจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่าง ๆ หรืออาจจะนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาในพัทยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักอาศัยที่เมืองพัทยาได้อย่างปลอดภัยจากการโจรกรรม หรืออาชญากรรมที่มักเกิดกับนักท่องเที่ยวบ่อยครั้ง 3) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำที่ดีควรยึดบทบาทของตนเองเป็นหลักทำงานตามกฎระเบียบที่ตนเองได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด ยึดบทบาทความเป็นผู้นำ คิดให้เป็น แก้ไขให้ได้ มิใช่ใช้คำว่าผู้นำเพียงบังหน้า ใช้บทบาทเป็นผู้ตาม ค่อยรอให้ คนบอกค่อยว่า สร้างผลงานด้วยความสนใจและเป็นผลงานที่ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับผลประโยชน์ มิใช่เป็นผลงานที่ทำให้ตนมีส่วนได้เพียงคนเดียวต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ผู้นำที่ดีควรมีการทำงานที่ควบคุมการทำงานให้มีระเบียบวินัยตลอดจนมีผลงานอออกมาเพื่อเป็นตัวชี้วัดในการทำงานและศักยภาพในการวัดประสิทธิภาพประสิทธิผลที่เกิดขึ้น 4) ประสิทธิผลของผู้นำที่มีต่อองค์การ ผู้นำที่ดีควรวางแผนในการทำงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจนและมุ่งผลสำเร็จที่สามารถทำได้จริง ทำอะไรต้องมุ่งผลสำเร็จไม่ใช่ทำแบบไม่มีเป้าหมาย ต้องมองอุปสรรคให้เป็นโอกาสในการทำงาน ผู้นำที่ดีควรมีจิตใจที่ดี โอบอ้อมอารีต่อลูกน้องหรือผู้ร่วมงาน มีความอบอุ่น ในการชักจูงให้ทุกคนปฏิบัติงานร่วมกัน ผู้นำควรปกครองบ้านเมืองให้สงบ มองประชาชนเหมือนครอบครัว พยายามหาสิ่งดีเข้ามาพัฒนาครอบครัว หรือพื้นที่ของเราให้มีความเจริญขึ้น นอกจากนี้ผู้นำยังต้องออกมาพบปะกับพี่น้องประชาชน เพื่อหาข้อเสนอแนะหรือสอบถามกับประชาชนโดยตรง เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า ได้รับความอบอุ่นหรือผู้นำมีความเอาใจใส่คนในครอบครัว 5) ปัญหา อุปสรรค พัทยามีประชากรมาก ที่มาจากการท่องเที่ยวในพัทยา จึงมีปัญหาในการดูแลไม่ทั่วถึง ผู้นำต้องมองในฐานะที่ตนเองเป็นประชาชนที่ได้เจอกับปัญหา แล้วจึงนำปัญหานั้นไปพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่อไป ผู้นำที่ดีควรปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ลดกฎระเบียบข้อบังคับให้บริการอย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม เพราะปัจจุบันปัญหาความล่าช้าในการให้บริการมีอยู่มาก เน้นการทำงานที่ก่อให้เกิดผลงานมากกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบมากเกินไป ควรมองภาพรวมหลาย ๆ มิติ เช่น ความปลอดภัย สาธารณูปโภคต่าง ๆ สาธารณะสุข ค่ารักษาพยาบาลที่เป็นธรรม นักท่องเที่ยวบ่นว่าค่ารักษาพยาบาลแพง 6) ข้อเสนอแนะ เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวควรมีการพัฒนาให้เป็นเมืองที่ผสมผสานระหว่างความทันสมัย และสิ่งแวดล้อมที่เป็นระเบียบไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อน สถานที่ท่องเที่ยว สถานบันเทิง ร้านอาหาร ภัตตาคาร ตลอดจนความปลอดภัย ควรวางแผนพัฒนาเมืองให้เป็นระบบ ผู้นำควรเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นด้านนวัตกรรม ด้านศีลธรรม ด้านคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ควรพัฒนาระบบความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว และผู้มาเยี่ยนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรควบคุมเรื่องขยะ มลพิษ ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย ควรปกป้องคุ้มครองนักท่องเที่ยว และประชาชนทุกระดับ ควรมีความพร้อมทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านความเป็นอยู่ที่ดีของนักท่องเที่ยว ความสะอาดของถนนหนทาง ระบบขยะมูลฝอย ทางเท้า รถโดยสาร ทั้งสาธารณะและรถส่วนตัวควรมีการจัดระเบียบ การจราจรที่เป็นระบบ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี ในเรื่องของตำรวจท่องเที่ยวควรมีการเปลี่ยนกะเวรยามที่ทั่วถึง จะเห็นได้ว่าเมืองพัทยามีปัญหาเรื่องของการลักขโมย จี้ปล้นนักท่องเที่ยวบ่อย ๆ ผู้นำควรให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เรื่องระบบการรักษาพยาบาลควรควบคุมราคาการรักษาให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
References
สุภางค์ จันทวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุระชัย ขันชัยภูมิ. (2543). ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะของเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ทฤษฎีและปฏิบัติ : ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ การภาวะผู้นำ : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.
อดิศรา เกิดทอง. (2546). ความมีประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bum. (1978). “ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน”. สืบค้นวันที่ 23 มกราคม 2557 จาก. https://www.kroobannok.com/blog/39263
House, R.J. (1977). “A 1976 Theory of Charismatic of Leadership”. In J.L. Pieree, & J.W. Newstrom. Leader & the leadership process : Readings, self assessment & application. 203 -211
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว