การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสุขภาพของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • สุมนา บัวผุด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เบญจวรรณ ชมเดช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ทิพยนารี การะเกษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, อาหารสุขภาพ, การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารสุขภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสุขภาพของในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารในร้านขายอาหารสุขภาพ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการตัดสินใจต่อปัจจัยที่มีผลในการเลือกซื้ออาหารสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริโภคมีระดับการตัดสินใจในด้านผลิตภัณฑ์เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการ และด้านส่งเสริมการตลาดตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ณัชญ์ธนัน พรมมา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ธีรวีร์ วราธรไพบูรย์. (2557). “พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ”. สืบค้นวันที่ 4 มกราคม 2560. จาก www.journal.pim.ac.th.

นัทที สุรินทร์แปง. (2558). แนวทางการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลนครเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ระบบสถิติทางการทะเบียน, กรมการปกครอง. (2560). “สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ณ ฐานข้อมูลปัจจุบัน จังหวัดระยอง มกราคม 2560”. สืบค้นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560. จาก www.stat.dopa.go.th.

สุข หิบ. (2554). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเพื่อ สุขภาพของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). “กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง”. สืบค้นวันที่ 6 มกราคม 2560. จาก www.thaihealth.or.th.

สำนักโรคไม่ติดต่อ, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). “รายงานประจ?ำปี 2558”. สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2559. จาก www.thaincd.com.

ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ด้านอุตสาหกรรม ICT. (2560). “สถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชากรจังหวัดระยอง”. สืบค้นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560. จาก www.iikc.mict.go.th.

7P’s ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ. (2560). สืบค้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560. จาก www.ihotelmarketer.com.

Naehyun (Paul) Jin & Sang-Mook Lee. (2016). A conceptual framework for healthy food choice infull-service restaurants. School of Recreation, Health and Tourism, George Mason University, Manassas, VA, USA; b. Department of Foodservice Management, Kyungsung University, Busan, Republic of Korea.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implement and control. 9th ed. New Jersey : Asimmon & Schuster.

Philip Kotler. (2003). Marketing Management. 11th ed. New Jersey : Pearson.

Goldenson, Robert M. (1984). Longman Dictionary of Psychology and Psychiatry. New York : Longman.

Michael Solomon. (2002). Consumer Behavior. 3rd ed. New Jersey : Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29