การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยในการเลือกใช้บริการร้านอาหาร ของผู้บริโภคในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปฏิญญา เกตุวัฒนกิจ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สมพร ปัญญาไว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, ส่วนประสมทางการตลาด, คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS งานวิจัยนี้กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 35,000 บาทผลการศึกษาพฤติกรรมพบว่า ผู้บริโภคใช้บริการร้านอาหาร 1 - 2 ครั้งต่อเดือน ในช่วงเวลาเย็นมากที่สุด (17.00 - 20.00 น.) โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่าย 101 - 500 บาท/คน/ครั้ง ประเภทร้านอาหารที่ใช้บริการบ่อยที่สุดในช่วง 6 เดือน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านอาหารอีสาน และร้านอาหารแผงลอย ส่วนใหญ่ผู้ตอบจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกร้านด้วยตนเอง เมื่อไม่มีเวลาทำอาหารเอง การตัดสินใจเลือกร้านอาหารเดิมซ้ำ เพราะรสชาติอาหารอร่อยเหมาะสมกับราคา และเมื่อพบร้านอาหารเปิดใหม่จะถามเพื่อนก่อนตัดสินใจใช้บริการ จากการศึกษาข้อมูลตัวแปรด้านส่วนประสมทางการตลาด พบว่าปัจจัยด้านราคามีผลมากที่สุด และตัวแปรด้านคุณภาพการบริการ พบว่า ปัจจัยด้านความเป็นรูปธรรมในการบริการที่จับต้องได้มีผลมากที่สุด โดยภาพรวมมีผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2559). “ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร”. สืบค้นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.dbd.go.th.

______. (2560). “ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร”. สืบค้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.dbd.go.th.

กฤษฎา โสมนะพันธุ์. (2556). “แรงจูงใจในการรับประทานอาหารไทยนอกบ้านของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล”. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริการธุรกิจ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2556), 695 - 714.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

เพ็ญนภา หมีเทศ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคร้านอาหารสำหรับครอบครัวในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). “SME ปรับกลยุทธ์รับเทรนด์ธุรกิจร้านอาหารครึ่งปีหลัง”. สืบค้นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.kasikornresearch.com/th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). “ประชากรจากการทะเบียน เป็นรายอำเภอ พ.ศ. 2554 - 2558”. สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2560, จาก http://service.nso.go.th.

สุรางคนา ภัทรเมฆินทร์. (2555). การศึกษาSERVQUAL Model กับคุณภาพการบริการของธนาคารไทยพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Kotler, Philip. (2003). Marketing management. (11th ed.). Upper Saddle River, New Jersey : Prentice Kanuk, Hall.

Parasuraman.A, Berry, Leonard L., Zeithaml, Valarie A. (1988). “SERVQUAL : A Multiple-Item Scale For Measuring Consumer Perceptions of Service Quality”. Journal of Retailing, 12 - 40.

Schiffman, Leon G. and Leslie Lazar. (1987). Consumer Behavior. (3th ed.). New Jersey : Prentice-Hall.

Solomon, M., et al., (2006). Consumer Behaviour : A European Perspective. 3rd ed. Harlow : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29