ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกพนักงานในระดับปฏิบัติการ เพื่อเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ ในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ปุญชรัสมิ์ บุญโกมล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • มินตรา ศรีอมร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • รักษ์ติพร หลอดเข็ม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

คำสำคัญ:

พนักงานระดับปฏิบัติการ, สมรรถนะ, ความรู้, ทักษะ, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการคัดเลือกพนักงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามลักษณะงาน เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุ ตามเป้าหมายขององค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่นับว่ามีความสำคัญ ต่อเศรษฐกิจไทยมาก ในงานวิจัยนี้จึงต้องการที่จะศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการคัดเลือกพนักงานในระดับ ปฏิบัติการ ภายใต้พื้นฐานของสมรรถนะ ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านทัศนคติ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกพนักงานในระดับปฏิบัติการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก สำหรับผลการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ความสำคัญมาก ได้แก่ ด้านทัศนคติ ด้านทักษะและด้านความรู้ ตามลำดับ โดยรายข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ พนักงานสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว มีความตั้งใจในการทำงาน และมีความ มุ่งมั่นพยายาม ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาฝีมือแรงงานระดับปฏิบัติการ เพื่อรองรับ การขยายตัวของธุรกิจยานยนต์ และตอบสนองความต้องการในภาคอุตสาหกรรมได้ในอนาคต

References

รองศาสตาจารย์ ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

เกื้อจิตร ชีระกาญจน์. (2555). สมรรถนะในปัจจุบันของผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. (2559). การศึกษาองค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. (กรกฎาคม - กันยายน). 67 - 79.

บุญส่ง นาแสวง. (2555). ขีดสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

วีราภรณ์ บุตรทองดี. (2557). การศึกษาทัศนคติต่อการทำงาน องค์กร และความจงรักภักดีของ พนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). “สถิติโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2549 - 2558”. สืบค้นวันที่ 7 มกราคม 2560. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries16.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำมะโนธุรกิจอุตสาหกรรม. (2555). “สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555”. สืบค้นวันที่ 7 มกราคม 2560. จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/census/BusiIndus.html.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). “แผนพัฒนาสถิติจังหวัดระยอง ปี 2557” สืบค้นวันที่ 7 มกราคม 2559. จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/files/Rayong_Draft.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29