ศึกษาความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองของพนักงานบริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี สามเรืองศรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชัยวัฒน์ แซ่ไหล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ความต้องการพัฒนาตนเอง, สมรรถนะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองของ พนักงานบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม เคมีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มเป้าหมาย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Anova และวิเคราะห์ความแตกต่าง เป็นรายคู่ด้วย Scheffe Analysis การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS งานวิจัยนี้ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี อยู่ในสถานะโสด วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,001 - 30,000 บาท เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี โดยภาพรวม พนักงานบริษัท มีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในทุกด้าน อยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองของพนักงาน เมื่อจำแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล พบว่า เพศหญิงและเพศชายมีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มีอายุ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา รายได้ ตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน มีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในด้านความรู้ ทักษะ บุคลิกภาพ และมีทัศนคติแตกต่างกัน

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). “ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากรปี 2559”. สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-1-3.html.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). “การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS”. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : เอส เอ พริ้นติ้งแอนด์แมสโปรดัก.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency : เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง. Chulalongkon Review. 16 (ก.ค. - ก.ย.) : หน้า 57 - 72.

อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2559). “การเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นประเด็นผลกระทบ ที่น่าจับตามอง”. สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2559. จาก http://www.thai-aec.com/218.

อภิญญา เลื่อนฉวี. (2560). “เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในอาเซียน : ผลกระทบอย่างไรต่อไทย”. สืบค้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560. จาก http://www.asean.dla.go.th/.../A3CA010D-AAA9-ECB5-D1BF-3F308B182808.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2559). “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์” . สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2559. จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/Indust-BasicKnowledge.

Lyle M. Spencer, Jr., and Signe M. Spencer. (1993). Competence at Work. by New York : Wiley. 372 pp.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for “intelligence”American Psychologist. 28, 1 - 14.

Scott B.Parry, Ph.D. (1997). The Managerial Mirror : Competencies. Human Resource Development Pr (December 1997).

Dubois & Rothwell. (2004). Competency-Based Human Resource Management. Nich.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29