การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา – แม่กลอง

Main Article Content

ฉลอง เกิดพิทักษ์
ชัยวัฒน์ ขยันการนาวี

Abstract

ประมาณปี พ.ศ. 2520-2521 ธนาคารโลกซึ่งประเทศไทยได้กู้เงินมาพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทั้งก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทาน เสนอแนะให้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-แม่กลอง อย่างเป็นระบบผลการศึกษาปรากฎว่า ปริมาณน้ำที่สามารถเก็บกักได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีไม่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกข้าวฤดูแล้งได้เต็มพื้นที่ทุกปี (เต็มตามความสามารถที่คลองส่งน้ำจะส่งให้ได้) ข้อเสนอแนะที่สำคัญข้อหนึ่ง คือไม่ควรก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมพื้นที่ชลประทานท้ายอ่างเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพราะจะเป็นการย้ายพื้นที่เพาะปลูกจากโครงการชลประทานเจ้าพระยาไปยังโครงการใหม่ ซึ่งต้องเสียค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น และเป็นผลให้พื้นที่ชลประทานบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่านประมาณ 500,000 ไร่ ต้องหยุดการพัฒนาและบริษัทฯ ได้พัฒนาแบบจำลองสำหรับจัดสรรน้ำล่วงหน้ารายสัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในลุ่มน้ำ หลังจากการศึกษาแล้วเสร็จแบบจำลองดังกล่าวก็ไม่ได้ใช้งาน ข้อเขียนนี้เสนอแนะให้นำแบบจำลองดังกล่าวแล้วมาปรับปรุงเพื่อใช้งานอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการเก็บข้อมูลสำคัญเพื่อนำมาสอบเทียบแบบจำลองให้กระจายไปทั่วทั้งลุ่มน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี พร้อมทั้งศึกษาปรับปรุงเขื่อนสิริกิติ์ให้สามารถเก็บกักปริมาตร
อุทกภัยบน Flood surcharge storage เป็นการชั่วคราวได้ ถ้าสามารถทำได้จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างมหาศาล และผลการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานเช่นโครงการเขื่อนผาจุกได้หรือไม่

Article Details

How to Cite
เกิดพิทักษ์ ฉ., & ขยันการนาวี ช. (2015). การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยแบบจำลองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา – แม่กลอง. Interdisciplinary Research Review, 9(1), 1–9. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/42360
Section
Research Articles