การศึกษาการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากใบกระถิน

Main Article Content

ธันยนันท์ ศรีพันธ์ลม
ฐิฏิพร ชูศรี
ณัฎฐนิช ประทุมศรี

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ทำการสกัดโปรตีนจากใบกระถินด้วยเอนไซม์อัลคาเลส โดยศึกษาระยะเวลาในการย่อยและความเข้มข้นที่เหมาะสมของเอนไซม์อัลคาเลส โดยใช้ความเข้มข้นเอนไซม์อัลคาเลส ร้อยละ 0.3, 0.5, 0.7 และ 0.9 (%v/v) ย่อยที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ที่ pH 8.0 เป็นเวลา 90, 120, 150 และ 180 นาที จากนั้นนำสารละลายมาวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนโดยวิธี Lowry พบว่าสภาวะที่เหมาะสมคือ ความเข้มข้นเอนไซม์อัลคาเลส ร้อยละ 0.7 (%v/v) ในสัดส่วนเอนไซม์ต่อใบกระถินแห้งเป็น 0.00175 (%v/w) ที่เวลา 90 นาที มีปริมาณโปรตีนสูงสุด 249.55 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้นศึกษาการสกัดโปรตีนโดยวิธีทาง กายภาพและเคมีร่วมกับการใช้เอนไซม์อัลคาเลส เปรียบเทียบ 3 วิธี คือ 1) สกัดโปรตีนโดยใช้ความร้อนและย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลส 2) สกัดโปรตีนโดยใช้เบสและย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลส และ 3) สกัดโปรตีนโดยใช้เอนไซม์อัลคาเลส พบว่า การสกัดโปรตีนโดยใช้เบสและย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลสเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสกัดโปรตีนจากใบกระถิน พบปริมาณโปรตีนมากที่สุด 481.82 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมา คือ การสกัดโปรตีนโดยใช้ความร้อนและย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลส 275.29 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้นวิเคราะห์หาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay พบว่า มีค่า \text{IC}_{50} (ค่าความเข้มข้นของโปรตีนสกัดจากกระถินที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ที่ร้อยละ 50) เท่ากับ 1,850 มิลลิกรัมต่อลิตรเทียบกับสารมาตรฐาน BHA (Butylatedhydroxyanisole) มีค่า \text{IC}_{50} เท่ากับ 90 mg/L

Article Details

How to Cite
ศรีพันธ์ลม ธ., ชูศรี ฐ., & ประทุมศรี ณ. (2015). การศึกษาการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากใบกระถิน. Interdisciplinary Research Review, 9(1), 11–18. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/42362
Section
Research Articles