การเลือกขนาดหินทิ้งสำหรับการไหลแบบไหลข้ามในทางน้ำเปิด

Main Article Content

ณัฐ ฮุนพงษ์สิมานนท์
เสรี จันทรโยธา
อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์

Abstract

หินทิ้งเป็นโครงสร้างชลศาสตร์ที่นิยมใช้ในการป้องกันการกัดเซาะของโครงสร้างชลศาสตร์อื่น ๆ เช่น เขื่อนวัสดุถม คันกั้นน้ำ ฝาย และทางน้ำเปิด เป็นต้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางในการหาขนาดของหินทิ้งที่มีการไหลข้ามโครงสร้าง ภายใต้การใช้วัสดุหินภายในประเทศที่คัดขนาดสม่ำเสมอ 4 ขนาด ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12.7, 19.1, 38.1 และ 50.8 มม. ความลาดชันของหินทิ้ง 3 ระดับคือ 2%, 5% และ 10% และแต่ละอัตราการไหลของน้ำวัดอัตราการพัดพาหินทิ้ง 3 ครั้ง ทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 0.60 ม. ยาว 17 ม. สูง 0.75 ม. ของห้องปฎิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 23 กรณี 66 ชุดข้อมูล พบว่าปัจจัยความสัมพันธ์หลักกับขนาดหินทิ้งที่พบคือ ความลาดชัน อัตราการไหล และมุมทรงตัว โดยขนาดของหินทิ้งจะใหญ่ขึ้นตามการเพิ่มของอัตราการไหลสูงสุดของทางน้ำโดยเป็นแบบเส้นตรง และขนาดของหินทิ้งจะใหญ่ขึ้นในอัตราที่มากขึ้นตามการเพิ่มความลาดชันร่วมกับมุมทรงตัว นอกจากนี้การศึกษาได้เสนอสมการในการเลือกขนาดหินทิ้งในเบื้องต้นที่สัมพันธ์กับตัวแปรดังกล่าว

Article Details

How to Cite
ฮุนพงษ์สิมานนท์ ณ., จันทรโยธา เ., & ศรีอริยวัฒน์ อ. (2015). การเลือกขนาดหินทิ้งสำหรับการไหลแบบไหลข้ามในทางน้ำเปิด. Interdisciplinary Research Review, 10(1), 32–42. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/42569
Section
Research Articles